TY - JOUR AU - สวัสดี, ปาริฉัตร PY - 2016/10/21/ TI - การศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดซื้อจัดหาเพื่อสร้างรูปแบบการจัดซื้อที่เหมาะสม กรณีศึกษา : บริษัท เอบีซี แพคเกจจิ้ง จำกัด JF - Journal of Logistics and Supply Chain Management Ramhkamhaeng; Vol 3 No 1 (2016): January - December KW - N2 - การศึกษาการจัดซื้อ กรณีศึกษา บริษัท เอบีซี แพคเกจจิ้ง จำกัด นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนในสภาวะปัจจุบัน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของวัตถุดิบกลุ่มแผ่นฟิล์มที่ทำการสั่งซื้อย้อนหลัง 1 ปี ระหว่างเดือนธันวาคม 2013 – พฤศจิกายน 2014 มีจำนวนรายการทั้งสิ้น 480 รายการ เพื่อใช้ในการศึกษาถึงรูปแบบการจัดซื้อจัดหาในปัจจุบัน ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีปัญหา 2 ข้อ คือ 1) การให้ความสำคัญของวัตถุดิบเท่ากันทุกรายการ และ 2) ขาดการพยากรณ์ปริมาณวัตถุดิบที่ต้องการใช้ จากการศึกษาข้อมูลจึงได้นำเสนอรูปแบบการจัดซื้อจัดหาที่เหมาะสมสำหรับวัตถุดิบที่นำมาผลิตบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน โดยเริ่มจากการจำแนกกลุ่มวัตถุดิบกลุ่มแผ่นฟิล์ม โดยใช้วิธีการ ABC Analysis เพื่อแยกวัตถุดิบออกเป็น กลุ่มๆ ตามความสำคัญ พบว่าวัสดุคงคลังกลุ่ม A มีจำนวน 56 รายการ โดยมีวัสดุคงคลังคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ ของวัสดุคงคลังทั้งหมด และมีมูลค่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าของวัสดุคงคลังทั้งหมด ซึ่งในกลุ่ม A กำหนดให้ผู้ส่งมอบทำการผลิตสินค้าสำเร็จรูปไว้เป็นสินค้าคงคลังอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ กลุ่ม B มี 120 รายการ โดยมีวัสดุคงคลังอยู่ที่ 25 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่า 15 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าของวัสดุคงคลังทั้งหมด ซึ่งในกลุ่ม B กำหนดให้ผู้ส่งมอบทำการผลิตสินค้าสำเร็จรูปไว้เป็นสินค้าคงคลังอยู่ที่ 15 เปอร์เซ็นต์ กลุ่ม C มี 304 รายการ โดยมีวัสดุคงคลังอยู่ที่ 63 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่า 5 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าของวัสดุคงคลังทั้งหมด ซึ่งในกลุ่ม C กำหนดให้ผู้ส่งมอบทำการผลิตสินค้าสำเร็จรูปไว้เป็นสินค้าคงคลังอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ของยอดปริมาณความต้องการใช้วัตถุดิบต่อเดือน The objective of this special problem is to study the existing purchasing record of ABC Company & analyze data which are film, based raw material of Flexible packaging. Data collecting were tracked back 1 year since Dec 2013 till Nov 2014, Totally 480 item for this case study. After analyzed data, 2 problems were found as 1st no item classification, all items were treated as the same important level and 2nd no forecasting of usage required. From the result, the researcher would like to suggest to the ABC Analysis method for improve the purchasing process. ABC Analysis is the process to classify the product value by costing & inventory level. After analyzed, product were defined to 3 priority groups as A, B & C by sequence. A is most important, B is medium & C is low. Group A has 56 items which are 12 percent of total raw material quantity and value is 80 percent of total value of inventory, then suggest to request supplier to keep stock as 10 percent. Group B has 120 items which are 25 percent of total raw material quantity and value is 15 percent of total value of inventory, then suggest to request supplier keep stock as 15 percent and last, Group C has 304 items which are 63 percent of total raw material quantity and value is 5 percent of total value of inventory, then suggest to request supplier keep stock as 20 percent. UR - http://ojs.ru.ac.th/index.php/Logistic/article/view?path=