%A Meunsa, Tippawan %A Saengkrod, Wimonsiri %D 2020 %T การถอดบทเรียนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการ Smart Security (Lessons Learned from Public Participation Encouragement in SMART SECURITY Project) %B 2020 %9 %! การถอดบทเรียนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการ Smart Security (Lessons Learned from Public Participation Encouragement in SMART SECURITY Project) %K %X   บทคัดย่อ          บทความเรื่อง การถอดบทเรียนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการ Smart Securityกรณีศึกษา : โครงการติดตั้งกล้อง CCTV 1,000  จุด ภาคประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ เพื่อถอดบทเรียน และเป็นข้อเสนอแนะสำหรับองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่น ๆ ในการนำบทเรียนจากโครงการ ฯ ไปต่อยอดสำหรับการดำเนินงานที่มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์เพื่อถอดบทเรียน             ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนความสำเร็จในการดำเนินโครงการ ฯ คือ ความร่วมมือในการทำงานระหว่างเทศบาลนครขอนแก่น สถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น และหอการค้าจังหวัดขอนแก่น ในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับเมือง และเป็นกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ฯ จะต้องติดตั้งกล้อง CCTV หน้าบ้านและหันมุมกล้องออกสู่สาธารณะ เมื่อผ่านการตรวจสอบ เทศบาลนครขอนแก่นจะสนับสนุนเงิน จำนวน 5,000 บาท ต่อองค์กรหรือบ้านละ 1 ตัว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้เข้าร่วมโครงการและส่วนรวม ตลอดจนการเกิดแนวทางการบริหารจัดการกล้อง CCTV ในการรักษาความปลอดภัยสาธารณะในพื้นที่ และเอื้ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการคลี่คลายคดีต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การติดตั้งกล้อง CCTV ในเส้นทางย่อย จุดเสี่ยงภัยมุมมืด มุมอับลับตาคน หรือมุมที่อาจมีเหตุร้าย ควรจะถูกสนับสนุนให้ติดกล้อง CCTV  มากที่สุด เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมมากกว่าเส้นทางหลัก        Abstract              The main objective of this article is to learn the tools and processes of public participation encouragement of 1,000 CCTVs Installation for people in Khon Kaen Municipality. This project was established according to SMART SECURITY concept comprising of qualitative methods that included semi structured interviews and in-depth interviews; used for extracting lessons from this project.                The most important factor behind success of this project was the cooperation and collaboration among three institutions; Khon Kaen Municipality, Khon Kaen Police Station and Khon Kaen Chamber of Commerce. They provided facilities and encouraged people to participate in this project. The main condition for people’s participation in CCTVs Installation project was to install CCTV in front of their residences and to set the camera angle to public area such as the road in front of their places. After fulfilling all requirements, people would get 5,000 Bath for one camera for each household as a subsidy from municipality. This subsidy in the form of financial remuneration was the most important strategy to make this project succeed. Moreover, there has been a data sharing among security organizations making city protection processes more convenient and effective. However, there are not able to cover all the dangerous areas in town such as on the alleys, blind spots or deserted roads which are epicenter of various crimes. It is suggested that more security camera installations be increased on such. The suggestion for project improvement is increasing more installations on such high – risk areas more than the main road. %U http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view?path= %J Ramkhamhaeng Journal of Public Administration %0 Journal Article %& 130 %P 22 %V 3 %N 3 %@ 2630-0133 %8 2020-12-01 %7 2020-12-21