@article{RJPA, author = {Piyanush Ngernklay and Pongsan Srisomsap}, title = {การนำนโยบายด้านกระบวนการยุติธรรมไปปฏิบัติ (The study of policy implementation on justice process)}, journal = {Ramkhamhaeng Journal of Public Administration}, volume = {4}, number = {2}, year = {2021}, keywords = {}, abstract = {บทคัดย่อ การศึกษาเรื่องการนำนโยบายด้านกระบวนการยุติธรรมไปปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) ศึกษาการนำนโยบายด้านกระบวนการยุติธรรมไปปฏิบัติ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายด้านกระบวนการยุติธรรมไปปฏิบัติ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนานโยบายด้านกระบวนการยุติธรรมไปสู่การปฏิบัติ โดยกำหนดกรอบการศึกษาผ่านกรณีศึกษาคือ การอำนวยความยุติธรรมโดยการช่วยเหลือประชาชนในคดีปกครอง ดำเนินการศึกษาโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบการวิเคราะห์กรณีศึกษา และประมวลข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า การนำนโยบายด้านกระบวนการยุติธรรมไปปฏิบัติ มีลักษณะ 1. มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต้องปฏิบัติงานในนโยบายเดียวกันหลายหน่วยงาน แต่ละหน่วยงานมีกฎหมาย งบประมาณ และภารกิจเฉพาะของตนเอง ทำให้การปฏิบัติตามนโยบายจึงมุ่งเป้าไปที่การบรรลุภารกิจของหน่วยงานเฉพาะมากกว่าผลลัพธ์ของนโยบาย 2. ปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายด้านกระบวนการยุติธรรมไปปฏิบัติ พบว่า แต่ละหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชนในคดีปกครองไม่ได้มีการประสานส่งต่อเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนอันเนื่องจากข้อจำกัดด้านการตีความภารกิจในความหมายที่แคบ ข้อจำกัดของกฎหมาย และการขาดช่องทางประสานระหว่างหน่วยงาน 3. แนวทางการพัฒนานโยบายสู่การปฏิบัติ มีข้อเสนอใน 2 ระดับ ดังนี้ ระดับนโยบาย ต้องมีการกำหนดกลไกการประสานงานอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถปฏิบัติได้จริง ควรมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อน ล้าหลัง และคลุมเครือของกฎหมาย รวมทั้งวิธีปฏิบัติตามกฎหมายแต่ละฉบับ ระดับปฏิบัติ ต้องมีการวิเคราะห์และพัฒนาประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ต้องมีการรายงานปัญหาในการปฏิบัติตามนโยบายในกรณีที่ปัญหาเกิดขึ้นจากตัวนโยบายหรือกฎหมายเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขระดับนโยบายต่อไป Abstract The purposes of the study are as follows: 1) To study the policy implementation on justice process, 2) To study the problems and obstructions of policy implementation on justice process, and 3) To propose the developmental ways of policy implementation on justice process. The study framework is determined through the case studies and evaluated the findings by in-depth interview. The study result reveals that there are particular characteristics of the policy implementation on justice process in Thailand. Firstly, several organizations have been involved and have responsibility to operate in the same policies. Contrastingly, each organization has its own laws, budgets, and missions; therefore, the policy is more focused on the organizational mission achievement than the policy outcomes. Secondly, the remarkable problems and obstructions of policy implementation on justice process in Thailand is the lack of cooperation between the responsible organizations. This visibly results in the ineffective and narrow of laws interpretation, limitation of laws, and the lack of coordination channels between in-charge organizations. Regarding the research outcome, there are the developmental suggestions for greater policy implementation which can be categorized into two levels as follows: Policy Level and Operational Level. In policy level, to determine the mechanisms for concrete coordination and practical operation, the guidelines should determine the roles of collaboration, law interpretation, and mutual operation of every organization unquestionably. While in operational level, the officers should evaluate and report the practical results in order to develop the policy gaps or policy issues continuously.}, issn = {2630-0133}, pages = {114--135} url = {http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/235} }