TY - JOUR AU - Thamrongworakun, Phitsaran PY - 2022 TI - ผลของโปรแกรมฝึกอบรมการปรึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และเจตคติต่อการปรึกษา: กรณีศึกษาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในวิกฤตการณ์แพร่เชื้อโคโรนา (The effects of a counseling training program for the development of knowledge abilities and attitudes) JF - Ramkhamhaeng Journal of Public Administration; Vol 5 No 1 (2022): วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์ ( Ramkhamhaeng Journal of Public Administration) KW - N2 - บทคัดย่อ               การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรมการปรึกษาในวิกฤตการณ์แพร่เชื้อโคโรนาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 60 คน ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการปรึกษามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.76 2) แบบประเมินความสามารถในการปรึกษามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และ 3) แบบประเมินเจตคติต่อการปรึกษามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมฝึกอบรม การปรึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และเจตคติในการปรึกษาในวิกฤตการณ์แพร่เชื้อไวรัสโคโรนาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.60-1.00  ทำการทดสอบสมมติฐานทางสถิติด้วย Wilcoxon Signed-Rank Test for Match Paired และ Mann-Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า 1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านฯกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินความความรู้ ความสามารถ และเจตคติในการปรึกษาหลังเข้ารับโปรแกรมฝึกอบรมมากกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านฯกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินความรู้ ความสามารถ และเจตคติในการปรึกษามากกว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   Abstract               The purposes of this quasi experimental research were to study the effectiveness of a counseling training program for the volunteers during the COVID-19 pandemic. The sample population consisted of sixty village public health volunteers from multistage randomization, divided into an experimental group and a control group of thirty each. The instruments used in data collection consisted of 1) an evaluation form of knowledge in counseling with the reliability of 0.76; 2) an evaluation form of counseling abilities with the reliability of 0.845; and 3) an evaluation form of attitudes towards counseling with the reliability of 0.93. The instrument used in the experiment was a counseling training program for the development of knowledge, abilities, and attitudes towards counseling during the COVID-19 pandemic of the volunteers with the index of objective congruence (IOC) of 0.60-1.00. The hypothesis was statistically tested using the Wilcoxon Matched-Pairs Signed Rank Test and the Mann-Whitney U Test. Findings are as follows: 1). The volunteers exhibited scores from the evaluation of counseling knowledge, counseling abilities, and counseling attitude after attending the counseling training program at a higher level than prior to the training at the statistically significant level of .01. and 2). The volunteers attending the counseling training program exhibited scores from the evaluation of counseling knowledge, counseling abilities, and counseling attitude after attending the counseling at a higher level than those not attending the program at the statistically significant level of .01. UR - http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view?path=