การจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ฟิตเนสเฟิร์ส ไทยแลนด์ สาขาเซ็ลทรัลบางนา

WAREHOUSE MANAGEMENT CASE STUDY OF FITNESSFIRST.CO.LTD CENTRAL BANGNA CLUB

  • กชณัช แก้วมณี

Abstract

การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ฟิตเนสเฟิร์ส ไทยแลนด์ สาขาเซ็ลทรัลบางนา มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ฟิตเนสเฟิร์ส ไทยแลนด์ สาขาเซ็ลทรัลบางนา 2) เพื่อศึกษาการจัดการคลังสินค้า บริษัท ฟิตเนสเฟิร์ส ไทยแลนด์ สาขาเซ็ลทรัลบางนา 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 6 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการปฏิบัติงานและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลและเปรียบเทียบการปฏิบัติงาน พร้อมการนำเสนอข้อมูลโดยการบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แนวทางในการจัดการคลังสินค้า บริษัท ฟิตเนสเฟิร์ส ไทยแลนด์ สาขาเซ็ลทรัลบางนา ด้านการปฏิบัติงานนั้นควรมีการจัดให้คามรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับขั้นตอน การปฏิบัติงานที่ถูกต้องให้แก่พนักงานในงานคลังสินค้าเพื่อลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน มีการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของคลังสินค้าที่ถูกต้องและเพื่อให้เป็นข้อมูลในการจัดการคลังสินค้า มีการวางแผนการปฏิบัติงานมีการกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานไว้ให้เพียงพอกับงาน การมอบหมายงานให้กับพนักงานทุกระดับรับผิดชอบงานด้วยความชัดเจนและเหมะสมตามอกสารคู่มือการปฏิบัติงานคลังสินค้าเพื่อให้พนักงานศึกษาระบบงานได้สะดวกและควรมีการสื่อสารเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานของพนักงานในหน่วยงานมีการสั่งงานที่ชัดเจนในด้านการควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องซึ่งสามารถช่วยลดขั้นตอนในการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น


The purposes of this research were to study the problems and obstacles the warehouse management of Fitnessfirst.Co,Ltd .and .to develop guidelines for effective inventory management.and to study the warehouse management of Fitnessfirst.Co,Ltd The sample 6 staff working in the warehouse was used as the query performance and interview. Analyze and compare the performance. With presentations by the lecture. The instruments used to collect data were a set of questionnaires asking about the operation and interviews. The statistics used to analyze data were frequency and percentage. Data were also analyzed by comparing the operation with the department’s manuals.The research results were as follows: The company should provide its staff with knowledge and understanding of the correct operational procedures to reduce making mistakes while working in the warehouse. They should study the current status, problems and needs of the work in the warehouse and use the findings for the warehouse management. The company should set the action plans and hire sufficient staff to meet the amount of work. There should be clear job description for every level of staff and the work assignment should be clear and appropriate according to the warehouse operator’s manuals. There should also be internal communication channels to create teamwork within the department. There should be clear instructions for controlling, directing, supervising, checking and evaluating work performance continuously which can reduce the procedures and increase the efficiency of the operation in the warehouse.

Published
Oct 20, 2016
How to Cite
แก้วมณี, กชณัช. การจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ฟิตเนสเฟิร์ส ไทยแลนด์ สาขาเซ็ลทรัลบางนา. Journal of Logistics and Supply Chain Management Ramhkamhaeng, [S.l.], v. 3, n. 1, oct. 2016. ISSN 2351-0722. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/Logistic/article/view/32>. Date accessed: 03 jan. 2025.