การศึกษาโซ่อุปทานและช่องทางการกระจายสินค้าเส้นหมี่โคราชพร้อมน้ำปรุงยี่ห้อตำหนักทอง

Supply Chain and Distribution Channel Study (Traditional Korat Noodle with Seasoning Sauce branded “Tam Nak Tong”)

  • วิภารัตน์ นพสระน้อย

Abstract

การศึกษาโซ่อุปทานและช่องทางการกระจายสินค้าเส้นหมี่โคราชพร้อมน้ำปรุงยี่ห้อตำหนักทอง ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อศึกษาโซ่อุปทานของเส้นหมี่พร้อมน้ำปรุงของยี่ห้อตำหนักทอง
2.เพื่อศึกษาช่องทางการกระจายสินค้าเส้นหมี่พร้อมน้ำปรุงของยี่ห้อตำหนักทอง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการศึกษา คือ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือบุคคลที่หน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจาก เจ้าของกิจการ 1 คน ฝ่ายจัดซื้อ 3 คน ฝ่ายคลังสินค้า 4 คน และฝ่ายจัดส่งสินค้า 2 คนรวมเป็นกลุ่มตัวอย่าทั้งหมด 10 คน คิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมดภายในองค์กร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ผลโดยนำข้อมูลปฐมภูมิที่ได้และสภาพแวดล้อมขององค์กรมาเรียบเรียงในลักษณะการบรรยายเชิงพรรณนาตามหลักการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษา พบว่า มีการวางแผนกำลังการผลิต ในการใช้พนักงานที่อยู่ในไลน์ผลิตและม
เครื่องจักรเพื่อช่วยส่งเสริมการผลิตให้มีความสามารถในการผลิตสูงสุด ทำงานมีความต่อเนื่องและไม่มีสินค้าคงคลังมากเกินไป ทำเลตั้ง เหมาะสมในการเคลื่อนย้ายสินค้า สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว และช่วยประหยัดต้นทุนในการขนส่ง มีการวัดผลการดำเนินงานมีการควบคุมการผลิตสินค้าให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้และพนักงานทุกระดับ มีการจัดการทั้งในด้าน Supplier Relationship Management (SRM) และ Customer Relationship Management (CRM) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต Supplier ตัวแทนจำหน่ายและผู้บริโภค จะมีการวางแผนเส้นทางการขนส่งเพื่อให้เกินความคุ้มค่าสูงสุดในการขนส่งการจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลังมีการการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้าอย่างต่อเนื่องกัน แยกประเภทของสินค้าเป็นหมวดหมู่และจัดระบายสินค้าแบบ First In First Out (FIFO) และจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SWOT Analysis พบว่า จุดแข็งในด้าน เอกลักษณ์ที่โดดเด่น คุณภาพของสินค้า การเข้าถึงลูกค้าและ Supplier จุดอ่อนในด้าน ลักษณะคล้ายคลึงกับบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์คู่แข่งขันรายอื่น พนักงานขาดความรู้ความสามารถที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ มีโอกาสในด้าน ภาครัฐมีนโยบายให้การสนับสนุนสินค้า OTOP ในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงผู้บริโภคได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น มีอุปสรรค ในด้าน ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน เมื่อเศรษฐกิจซบเซา ย่อมมีผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชนซึ่งจะบริโภคอย่างจำกัดมากขึ้นและการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งคู่แข่งเดิมและคู่แข่งรายใหม่ที่กำลังเข้ามา การพัฒนาการจัดการการดำเนินงานและโซ่อุปทานสามารถนำไปพัฒนา ปรับปรุงเพื่อรองรับในทุกกระบวนการเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและได้รับประสิทธิผลตามเป้าหมาย


The study of Supply chain and Distribution Channel for Traditional Korat Noodle with Seasoning Sauce branded “Tam Nak Tong” is researched in Qualitative Methodology with following objectives.
1. To study Supply Chain of Traditional Korat Noodle with Seasoning Sauce branded “Tam Nak Tong”
2. To study Distribution Channel of Traditional Korat Noodle with Seasoning Sauce branded “Tam Nak Tong”
Population and Samples for this study consists 1 person who obtains responsibility directly from Business Owner, 2 Procurement Officers, 3 Inventory Officers and 4 Product Transportation Officers. Total Sample is 10 Persons or 40% of total number of Organization Human Resources. Data Collection Tool used in this research is interviewing and Analyze acquired Primary information and Organization environment compiled into Descriptive Research according to Qualitative Research Principle.
The result is Production Planning regarding deploying worker in Production line and usage of Machines can support production to reach its maximum capacity, Continuous Operations and proper amount of goods stored in inventory, appropriate location in transporting can make quickly moving finished goods and reducing transportation cost. The Performance Appraisal helps to control production to be as planned. All-level staffs manage Supplier Relationship Management (SRM) and Customer Relationship Management (CRM). These can create the relationship between supplier, authorized Retailers and Consumers. The organization plans transportation route to create worthy transportation and inventory management, stored finished goods continuously moved within the inventory, categorizing finished goods and releasing on as First In First Out (FIFO) basis. From the SWOT Analysis, it is found that 1) Strength: Unique characteristics, Product Quality, Customer and Supplier Accessibility, 2) Weakness: the packaging being similar to competitors, staff being lack of knowledge to drive the Business, 3) Opportunity: Support from Government policy as OTOP in boundless communication era making the product to be conveniently accessed by customers, 4) Threat: the fluctuation economy (During the economy downturn, the personal consumption are limited), more severe competition from both existing and new entry competitors. The Development of Operation and Supply Chain Management are able to be improved in order to support all processes leading to efficient operation and objective achievement.

Published
Oct 21, 2016
How to Cite
นพสระน้อย, วิภารัตน์. การศึกษาโซ่อุปทานและช่องทางการกระจายสินค้าเส้นหมี่โคราชพร้อมน้ำปรุงยี่ห้อตำหนักทอง. Journal of Logistics and Supply Chain Management Ramhkamhaeng, [S.l.], v. 3, n. 1, oct. 2016. ISSN 2351-0722. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/Logistic/article/view/84>. Date accessed: 29 mar. 2024.