ศึกษาประสิทธิภาพการเปลี่ยนระบบการออกเอกสารกำกับสินค้าขาเข้าเป็นระบบ Chorus กรณีศึกษา คลังการบินไทย

Study the Efficiency of Changing Delivery Order Document System to the Chorus System: A Case Study of Thai Airways Cargo

  • พุทธิพล ลีลสัตยกุล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการเปลี่ยนระบบการออกเอกสารกำกับสินค้าขาเข้า เป็นระบบ Chorus 2) การศึกษาผลกระทบในการเปลี่ยนระบบต่อการทำงานของพนักงานภายในองค์กร 3) เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเนื่องจากการเปลี่ยนระบบออกเอกสารกำกับสินค้าขาเข้าเป็นระบบ Chorus กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือกลุ่มพนักงานห้องออกเอกสารกำกับสินค้าขาเข้าการบินไทย จำนวน 10 คน ใช้โดยใช้วิธีการเลือกแบบวิธีการเจาะจงตามตำแหน่งของพนักงาน และหาข้อมูลโดยใช้วิธี สัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเจาะจงประเด็นที่ทำการศึกษา 1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นคำถามแบบปลายเปิด ซึ่ง ถามเกี่ยวกับตำแหน่ง แผนก/ฝ่าย และประสบการณ์ทำงาน 2. สาเหตุและปัญหาของการเปลี่ยนระบบการออกเอกสารกำกับสินค้าเป็นระบบ Chorus 3. ผลกระทบต่อการทำงานของพนักงานจากการเปลี่ยน ระบบการออกเอกสารกำกับสินค้าเป็นระบบ Chorus 4. ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงให้ การเปลี่ยนระบบการออกเอกสารกำกับสินค้าเป็นระบบ Chorus มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย อายุระหว่าง 35 – 50 ปีการศึกษาระหว่างปริญญาตรีถึงปริญญาโท เป็นพนักงานการบินไทยห้องออกเอกสารกำกับสินค้าขาเข้า มีประสบการณ์ มากกว่า 5 ปี ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการออกเอกสารกำกับสินค้าขาเข้า กับระบบเก่าหรือระบบ Orchid และระบบใหม่ Chorus ซึ่ง พบว่าปัญหาเกิดขึ้นทำให้ทางคลังสินค้าการบินไทยไม่สามารถปรับใช้ระบบใหม่ Chorus เกิดขึ้นจากลูกค้าของทางคลังการบินไทยซึ่งรับเป็นเจ้าหน้าที่ภาคพื้นให้แก่สายการบินนั้นๆ และ ทั้งในส่วนพนักงานเองก็ไม่พร้อมรับระบบใหม่เนื่องจากไม่คุ้นชินและไม่พร้อมปรับตัวกับระบบใหม่


The purposes of this study were to 1) Study the Efficiency of Changing Delivery Order Document System to the Chorus System 2) Study the affect of the system changed upon the work of the staff in this department. 3) Seek the ways to solve any problems occurred resulting from this change. The samples were ten Thai airway personnel in the delivery order document department.  The sample were obtained by means of stratify random sampling. In depth interview was used to obtain data in the three aspects: 1) General information about the respondents, e.g., working position, department/division, and years of working experience. 2) Reasons and problems resulting from changing to ‘Chorus’ delivery order document system. 3) The affect of the change on the personnel’s work

Published
Oct 21, 2016
How to Cite
ลีลสัตยกุล, พุทธิพล. ศึกษาประสิทธิภาพการเปลี่ยนระบบการออกเอกสารกำกับสินค้าขาเข้าเป็นระบบ Chorus กรณีศึกษา คลังการบินไทย. Journal of Logistics and Supply Chain Management Ramhkamhaeng, [S.l.], v. 3, n. 1, oct. 2016. ISSN 2351-0722. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/Logistic/article/view/87>. Date accessed: 30 oct. 2024.