Submission Preparation Checklist
As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.- ต้องเป็นผลงานทางวิชาการที่ไม่เคยเผยแพร่ตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารวิชาการอื่นๆ
- The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
- Where available, URLs for the references have been provided.
- The text is single-spaced; uses a 14-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
- The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
Author Guidelines
ระเบียบการเสนอต้นฉบับเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์
- ต้องเป็นผลงานทางวิชาการที่ไม่เคยเผยแพร่ตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
- ต้องเป็นผลงานทางวิชาการที่ไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารวิชาการอื่นๆ
- ต้องเป็นผลงานทางวิชาการที่เกิดจากการค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์โดยผู้เขียนเองในสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์และสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ต้องไม่เป็นผลงานทางวิชาการที่ลอกเลียน ตัดตอนจากผลงานของบุคคลอื่น ไม่มีการคัดลอกผลงาน (plagiarism) ไม่ใช้วิธีการชักนำให้เข้าใจผิดในผลงานหรือผลการศึกษา (misconduct) หรือละเมิดจริยธรรมการทำวิจัย ขอให้ดำเนินการตรวจสอบการคัดลอกผลงานวรรณกรรมทางวิชาการ โดยผ่านระบบอักขราวิสุทธิ์ ทางเว็บไซต์ http://plag.grad.chula.ac. ส่งบทความพร้อมกับแนบแบบรับรองผลการตรวจสอบการคัดลอก (ดาวน์โหลดไฟล์) และผลการตรวจสอบการคัดลอกฯ มาด้วย
- ผู้เขียนต้องจัดเตรียมต้นฉบับตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์ และตามคำแนะนำของบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewers)
- ทัศนะและความเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยตรง บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่อ่านผลงาน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อความคิดเห็นดังกล่าวด้วยประการทั้งปวง
- Must be an academic work that has never been published anywhere before.
- Must be an academic work that is not under consideration of publication of other academic journals.
- Must be an academic work resulting from research, analysis, synthesis, creation by the author himself in the field of political science, public administration and related subjects.
- Must not be an academic work that is copied excerpt from the work of another person. There is no plagiarism, not misconduct or research ethics violations.
- The author must prepare the manuscript according to the publication guidelines of the Ramkhamhaeng Journal of Public Administration and according to the advice of editors and experts (peer reviewers).
- The views and opinions expressed in the article are the responsibility of the author directly. Editor, editorial staff , peer reviewers and the Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University are not responsible for all such comments.
หลักเกณฑ์การตีพิมพ์
ประเภทผลงานที่ตีพิมพ์
- บทความวิจัย (Research Article) เป็นผลงานโดยสรุปจากการค้นคว้าทดลองหรือวิจัยทางวิชาการที่ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนได้ค้นคว้าวิจัยด้วยตัวเองอย่างกระชับและสั้นในกระบวนการวิจัยและผลการวิจัย
- บทความวิชาการ (Academic Article) หมายถึงงานเขียนทางวิชาการ มีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยที่ผู้แต่งแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจน
- งานวิชาการอื่นๆ ที่คณะผู้จัดทําเห็นสมควร
- Research articles which are summary of the research, experiment or academic research that the author or group of authors have done themselves.
- Academic article means academic writing which the issues need to be clearly explained or analyzed. It may be knowledge from various sources to be compiled for systematic analysis in which the authors clearly express their academic views.
- Other academic works which the editorial board deems appropriate.
หลักเกณฑ์ทั่วไป
ผลงานวิชาการที่รับพิจารณาตีพิมพ์ ต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ตามคำแนะนำข้างล่าง และส่งไฟล์ในระบบอออนไลน์
บทความวิจัย ให้มีส่วนประกอบ ดังนี้
- บทคัดย่อ และ Abstract โดยให้นำบทคัดย่อขึ้นก่อน ตามด้วย Abstract ทั้งนี้เป็นการสรุปสาระสำคัญของเรื่องโดยเฉพาะวัตถุประสงค์ วิธีการและผลสรุป ไม่ควรเกิน 250 คำ หรือ 15 บรรทัด และให้ระบุคำสำคัญ (Key words) ท้ายบทคัดย่อ และ Abstract จำนวนไม่เกิน 3 คำ และไม่ควรใช้คำย่อในบทคัดย่อ สำหรับบทความที่ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษต้องส่งบทคัดย่อด้วย ทั้งนี้บทคัดย่อ และ Abstract ต้องมีเนื้อหาตรงกัน
- บทนำ
- วิธีดำเนินการวิจัย
- ผลการวิจัยและการอภิปรายผล
- ข้อเสนอแนะ
- เอกสารอ้างอิง
บทความทางวิชาการอื่นๆ ให้มีองค์ประกอบดังนี้
- บทคัดย่อ และ Abstract
- บทนำ
- เนื้อหาสาระ
- บทสรุป
- เอกสารอ้างอิง
หมายเหตุ: นักศึกษาที่ส่งบทความวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ จะต้องมีคำรับรองจากประธาน หรือ กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์หลักให้พิจารณาลงพิมพ์เผยแพร่
การเตรียมต้นฉบับ
- ขนาดของต้นฉบับ ขนาด A4 และเว้นระยะห่างระหว่างขอบกระดาษ ด้านบนและซ้ายมือ 1.25 นิ้ว ด้านล่างและขวามือ 1 นิ้ว
- รูปแบบอักษรและการจัดวางตำแหน่ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้รูปแบบอักษร Browallia New ทั้งเอกสาร พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยใช้ขนาด ชนิดของตัวอักษร รวมทั้งการจัดวางตำแหน่งดังนี้
2.1 หัวกระดาษ ประกอบด้วย เลขหน้าขนาด 12 พ๊อยต์ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวา
2.2 ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษขนาด 16 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ ความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด
2.3 ชื่อผู้เขียน ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ขนาด 15 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวาใต้ชื่อเรื่อง ทั้งนี้ให้ใส่หมายเลขเป็นตัวยกกำกับท้ายนามสกุลของผู้เขียนแต่ละคน และกรณีที่มีผู้ร่วมเขียนหลายคน ให้ระบุ Correspoding Author's E-mail Address ด้วย
2.4 เชิงอรรถ กำหนดเชิงอรรถในหน้าแรกของบทความ ส่วนแรกกำหนดข้อความ “ตำแหน่งและหน่วยงานหรือสังกัดที่ทำวิจัย” ของผู้เขียนแต่ละคน เป็นภาษาไทย ขนาด 10 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ในส่วนสุดท้ายกำหนดข้อความ “* ระบุเฉพาะแหล่งทุนและหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ” เช่น “งานวิจัยเรื่องนี้ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากทุนงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยรามคำแหง” เป็นต้น
2.5 หัวข้อบทคัดย่อ ขนาด 15 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้ายใต้ชื่อของผู้เขียน เนื้อหาบทคัดย่อ ขนาด 14 พ๊อยต์ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้ายและพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
2.6 หัวข้อคำสำคัญ ขนาด 15 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ใต้บทคัดย่อ เนื้อหาภาษาไทยขนาด 14 พ๊อยต์ชนิดตัวธรรมดา ไม่เกิน 3 คำ เว้นระหว่างคำด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (;)
2.7 หัวข้อ Abstract ขนาด 15 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ใต้คำสำคัญภาษาไทย เนื้อหาใน Abstract ขนาด 14 พ๊อยต์ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้ายและพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
2.8 Keywords ขนาด 15 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้ายใต้ Abstract เนื้อหาภาษาอังกฤษ ขนาด 14 พ๊อยต์ชนิดตัวธรรมดาไม่เกิน 3 คำ เว้นระหว่างคำด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (;)
2.9 หัวข้อหลักทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 15 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
2.10 หัวข้อย่อยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา Tab 1.5 เซนติเมตร จากอักษรตัวแรกของหัวข้อเรื่อง
2.11 เนื้อหาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 พ๊อยต์ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้ายและพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
2.12 อ้างอิง (References) การอ้างอิงเอกสารให้เขียนตามแบบ APA (American Psychological Association)
3. จำนวนหน้า บทความต้นฉบับมีความยาวประมาณ 15 หน้า A 4
การจัดทำต้นฉบับกำหนดให้ใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น ในกรณีเขียนเป็นภาษาไทย ควรแปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยให้มากที่สุด ยกเว้นในกรณีที่คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นคำเฉพาะที่แปลไม่ได้หรือแปลแล้วไม่ได้ความหมายชัดเจนให้ใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษได้และควรใช้ภาษาที่ผู้อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน หากใช้คำย่อต้องเขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกก่อน โดยเนื้อหาต้องเรียงลำดับตามหัวข้อดังนี้
ลำดับหัวข้อในการเขียนต้นฉบับบทความวิจัย
- ชื่อเรื่อง ควรสั้น และกะทัดรัด ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน
- ชื่อผู้เขียน เป็นภาษาไทย หากเกิน 6 คนให้เขียนเฉพาะคนแรกแล้วต่อท้ายด้วย “และคณะ”
- ชื่อหน่วยงานหรือสังกัด ที่ผู้เขียนทำงานวิจัยเป็นภาษาไทย
- บทคัดย่อ และ Abstract โดยเขียนสรุปเฉพาะสาระสำคัญของเรื่อง อ่านแล้ว เข้าใจง่าย ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ หรือ 15 บรรทัด โดยให้นำบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อน ทั้งนี้บทคัดย่อ และ Abstract ต้องมีเนื้อหาตรงกัน
- คำสำคัญ (Keywords) ให้อยู่ในตำแหน่งต่อท้ายบทคัดย่อ และ Abstract ไม่เกิน 3 คำ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ในการเลือกหรือค้นหาเอกสารที่มีชื่อเรื่องประเภทเดียวกันกับเรื่องที่ทำการวิจัย
- บทนำ เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมา และเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย และควรอ้างอิงงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง
- วัตถุประสงค์ ชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา
- กรอบแนวคิด (ถ้ามี) ชี้แจงความเชื่อมโยงตัวแปรต้นและตัวแปรตามในการทำการวิจัย
- ระเบียบวิธีการวิจัย ควรอธิบายวิธีดำเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง และที่มาของกลุ่มตัวอย่าง) การสร้างและพัฒนาคุณภาพเครื่องมือ การเก็บและรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
- ผลการวิจัย เป็นการเสนอสิ่งที่ได้จากการวิจัยเป็นลำดับ อาจแสดงด้วยตาราง กราฟ แผนภาพประกอบการอธิบาย ทั้งนี้ ตารางควรมีเฉพาะที่จำเป็น สำหรับรูปภาพประกอบควรเป็นรูปภาพขาว-ดำที่ชัดเจน และมีคำบรรยายใต้รูป
- อภิปรายผล ควรมีการอภิปรายผลการวิจัยว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด และควรอ้างทฤษฎีหรือเปรียบเทียบการทดลองของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นด้วยตามหลักการหรือคัดค้านทฤษฎีที่มีอยู่เดิม
- ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับงานวิจัยควรเป็นข้อเสนอแนะที่สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง หรือข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต
- ผู้เขียน/คณะผู้เขียน ในส่วนท้ายของบทความ ให้เรียงลำดับตามรายชื่อโดยระบุตำแหน่งทางวิชาการ ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และ e-mail ของทุกท่าน
การเขียนเอกสารอ้างอิง
การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อเรื่อง ให้อ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแบบนาม-ปี (Author – date on text citation) รวมทั้งให้มีการอ้างอิงท้าย เล่ม (Reference citation) โดยรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนอ้างอิงที่ปรากฏเฉพาะในบทความเท่านั้น และจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่งโดยใช้ระบบอ้างอิงมาตรฐานเอพีเอ (APA Style)
การอ้างอิง APA (6th Edition)
รูปแบบ การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา หน้าข้อความ ท้ายข้อความ เชิงอรรถ (ท้ายบทความ)
ผู้แต่ง 1 คน
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: นามสกุล (ปี) เช่น Robbin (2005) อ้างว่า. . .
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (นามสกุล, ปี) เช่น . . . (Robbin, 2005)
เอกสารอ้างอิง
นามสกุลผู้แต่ง, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
เช่น Hughes, O.E. (1994). Public Management and Administration: An Introduction. New York: St. Martin’ Press.
ผู้แต่ง 2-4 คน <
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: นามสกุล1 and นามสกุล2 (ปี) เช่น Peters and Waterman (1982) อ้างว่า . . .
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (นามสกุล, ปี) เช่น . . . (Peters and Waterman, 1982)
เอกสารอ้างอิง
นามสกุลผู้แต่ง 1, ชื่อย่อ and นามสกุลผู้แต่ง 2, ชื่อย่อ., (ปี). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
เช่น Peters, T. and Waterman Jr. R. (1982). In Search of Excellence. New York: Harper & Row.
ผู้แต่ง 5 คนขึ้นไป
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: นามสกุล 1 และคณะ (ปี)
เช่น Christensen et. al. (2013) อ้างว่า . . .
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (นามสกุล 1 และคณะ, ปี)
เช่น . . . (Christensen et. al., 2013)
เอกสารอ้างอิง
นามสกุลผู้แต่ง 1, ชื่อย่อ. และคณะ. (ปี). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
เช่น Christensen, T. et. al. (2013). New public management: The transformation of ideas and practice. New York: Prentice-Hall.
ผู้แต่งนามแฝง
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: ชื่อนามแฝง (ปี)
เช่น C-12 (2013) อ้างว่า . . .
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (ชื่อนามแฝง, ปี)
เช่น . . . (C-12, 2013)
เอกสารอ้างอิง
นามแฝง. (ปี). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
เช่น C-12. (2013). Thai Bureaucracy. Bangkok: Wattana Publishing.
หนังสือแปล
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: นามสกุลผู้แต่งต้นฉบับ (ปี)
เช่น Huntington & Nelson (2013) อ้างว่า . . .
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (นามสกุลผู้แต่งต้นฉบับ, ปี)
เช่น . . . (Huntington & Nelson, 2013)
เอกสารอ้างอิง
นามสกุลผู้แต่ง 1, ชื่อย่อ., & นามสกุลผู้แต่ง 2, ชื่อย่อ. (ปีที่แปล). ชื่อเรื่องที่แปล [ชื่อเรื่องต้นฉบับ]. (ชื่อ-นามสกุลผู้แปล, ผู้แปล). (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์. (ปีต้นฉบับที่พิมพ์).
เช่น Huntington, S.P. & Nelson, J. (2001). No Easy Choice: ทางเลือกของมวลประชา [No Easy Choice]. (สิทธิพันธ์ พุทธหุน, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (1976).
กรณีไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ลงชื่อเรื่องแทนผู้แต่ง
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: “ชื่อเรื่อง” หรือ “ชื่อบทที่” หรือ “ชื่อบทความ” (ปี)
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (“ชื่อเรื่อง” หรือ “ชื่อบทที่” หรือ “ชื่อบทความ”, ปี)
เอกสารอ้างอิง
ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). (ปี). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
การอ้างอิงเอกสารทุติยภูมิ (Secondary Source) (อ้างอิงในเนื้อหา)
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: นามสกุลผู้แต่งเอกสารต้นฉบับ (ปี ต้นฉบับ) (อ้างถึงในหรือ as cited in นามสกุลผู้แต่งทุติยภูมิ, ปีของเอกสารทุติยภูมิ)
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (นามสกุลผู้แต่งเอกสารต้นฉบับ, ปี ต้นฉบับ อ้างถึงในหรือ as cited in นามสกุลผู้แต่งทุติยภูมิ, ปี ของเอกสารทุติยภูมิ)
เอกสารอ้างอิง
ผู้เขียนอ้างอิงแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เหตุเพราะไม่สามารถเข้าถึงหรือสืบค้นหาต้นฉบับเดิมได้ การเขียนอ้างอิงข้อมูลทุติยภูมิในเอกสารอ้างอิงท้ายบทหลักการอ้างอิงเหมือนกับรายการหนังสือทั่วไป คือ
นามสกุลผู้แต่งทุติยภูมิ, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อเรื่องต้นฉบับ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
เอกสารรายงานการวิจัย
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: นามสกุลผู้วิจัย 1, and นามสกุลผู้วิจัย 2, (ปี)
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (นามสกุลผู้วิจัย 1, and นามสกุลผู้วิจัย 2, ปี)
เอกสารอ้างอิง
นามสกุลผู้วิจัย 1, ชื่อย่อ., & นามสกุลผู้วิจัย 2, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อเรื่อง (รายงานผลการวิจัย). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ดุษฎีนิพนธ์ ป.เอก
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: นามสกุลผู้วิจัย (ปี)
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (นามสกุลผู้วิจัย, ปี)
เอกสารอ้างอิง
นามสกุลผู้วิจัย, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อเรื่อง. (ปริญญานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต). ชื่อสถาบัน. สถานที่พิมพ์.
วิทยานิพนธ์ ป.โท
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: นามสกุลผู้วิจัย (ปี)
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (นามสกุลผู้วิจัย, ปี)
เอกสารอ้างอิง
นามสกุลผู้วิจัย, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อเรื่อง. (วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต).ชื่อสถาบัน. สถานที่พิมพ์.
บทความวารสาร
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: นามสกุลผู้เขียน 1, นามสกุลผู้เขียน 2, and นามสกุลผู้เขียน 3 (ปี)
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (นามสกุลผู้เขียน 1, นามสกุลผู้เขียน 2, นามสกุล ผู้เขียน 3, ปี)
เอกสารอ้างอิง
นามสกุลผู้เขียน 1, ชื่อย่อ., นามสกุลผู้เขียน 2, ชื่อย่อ., & นามสกุลผู้เขียน 3, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. เลขปีที่(เลขฉบับที่), เลขหน้าแรก-เลขหน้าสุดท้ายของบทความ.
เอกสารการประชุมทางวิชาการ (proceeding)
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: นามสกุลผู้เขียน (ปี)
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (นามสกุลผู้เขียน, ปี)
เอกสารอ้างอิง
นามสกุลผู้เขียน, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อบทความ. ใน หรือ in ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก. หรือ Ed. หรือ Eds.), ชื่อการประชุม (น. หรือ pp. เลขหน้าแรก-ถึงหน้าสุดท้าย). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
หนังสือพิมพ์
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: นามสกุลผู้เขียน (ปี)
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (นามสกุลผู้เขียน, ปี)
เอกสารอ้างอิง
นามสกุลผู้เขียน, ชื่อย่อ. (ปี, วัน เดือน). ชื่อคอลัมน์/ชื่อข่าว. ชื่อหนังสือพิมพ์. น. หรือ pp. เลขหน้าแรก-เลขหน้าสุดท้ายของคอลัมน์/ชื่อข่าว.
อ้างอิงเว็บไซต์
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: นามสกุลผู้เขียน (ปี)
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (นามสกุลผู้เขียน, ปี)
เอกสารอ้างอิง
นามสกุลผู้เขียน, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อหัวข้อ. สืบค้น เดือน วัน, ปี, จาก http://www.xxxxxxxxxx เช่น
ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2559). ปรับบทบาทภาครัฐไทย…ให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี. สืบค้นเมื่อ มกราคม 3, 2563, จาก https://thaipublica.org/2016/03/tdri-2016/
สถาบัน/องค์กร/สมาคม/ชมรม
อ้างอิงจากหน่วยงาน สถาบัน หรือองค์กร อ้างอิงครั้งแรกใช้ชื่อเต็ม ส่วนอ้างอิงครั้งต่อไปใช้อักษรย่อ
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: ชื่อเต็มของหน่วยงาน (อักษรย่อ, ปี)
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (ชื่อเต็มของหน่วยงาน [อักษรย่อ], ปี)
เอกสารอ้างอิง
ชื่อเต็มของสถาบันหรือหน่วยงาน. (ปี). ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
สัมภาษณ์(Interview)/Focus Group
สัมภาษณ์/Interview
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: ชื่อ-นามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์ (ปี)
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (ชื่อนามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์, ปี)
เอกสารอ้างอิง
ชื่อ-นามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์, (ปี). ตำแหน่ง/สถานะ/บทบาทหน้าที่. สัมภาษณ์. เดือน, วัน
การสัมภาษณ์กลุ่มย่อย/FocusGroup
ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ: ชื่อ-นามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์ (ปี)
กรณี การอ้างท้ายข้อความ: (ชิ่อ-นามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์, ปี)
เอกสารอ้างอิง
ชื่อ-นามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์. (ปี). ตำแหน่ง/สถานะ/บทบาทหน้าที่. การสัมภาษณ์กลุ่มย่อย. เดือน, วัน.
กรณีผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ประสงค์จะให้ระบุชื่อ-นามสกุล อนุโลมให้ใช้ "ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1/2/3..." แทนได้ และจะต้องรักษาจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด
***กรณีที่เอกสารแต่งโดยผู้แต่งโดยใช้ภาษาไทย ให้ใช้ ชื่อ-นามสกุล(ปี) แทนเอกสารภาษาอังกฤษที่ใช้ นามสกุล(ปี)
ขั้นตอนการส่งบทความ On line เพื่อการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร
การสมัครสมาชิก (Register) (ถ้าเป็นสมาชิกของวารสารแล้ว ให้เข้าสู่ระบบ log in และไปยังขั้นตอนการ Submission )
- สร้าง Username / Password
- สร้าง Profile ( ชื่อ, Email, รายละเอียดข้อมูลต่างๆ)
- ยืนยันการสมัครสมาชิกทาง Email
การส่งบทความ (Submission)
- คลิก Author ในช่อง User Home
- คลิก Click Here ใน Start a New Submission
Step 1 : เลือกทุกช่อง เพื่อเป็นการยืนยันว่าบทความของท่านเป็นไปตามเงื่อนไขที่วารสารกำหนด
Step 2 : อัพโหลดบทความเป็นไฟล์ word
Step 3 : กรอกรายละเอียดข้อมูลต่างๆสำหรับบทความของท่าน เช่น Author, Title (ภาษาไทยต่อท้ายด้วยภาษาอังกฤษในวงเล็บ), abstract, keywords, references
Step 4 : หากมีไฟล์ตารางหรือรูปภาพ ให้ทำการอัพโหลดเหมือนขั้นตอนที่ 2 หากไม่มี ให้ทำการ save and continue เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป
Step 5 : เสร็จสิ้นการ submission และเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบโดย editor ต่อไป
จรรยาบรรณของผู้เขียนบทความเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบการเสนอต้นฉบับเพื่อการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด
- ไม่นำผลงานของบุคคลอื่นมาใช้เป็นผลงานของตนเองโดยไม่มีการอ้างอิงและจัดทำรายการเอกสารอ้างอิงไว้ท้ายบทความ
- กรณีที่ทำวิจัยโดยมีชื่อร่วมหลายคน แต่ละคนจะต้องมีส่วนในการทำวิจัยนั้นๆ
- ต้องระบุแหล่งทุนสนับสนุนการทำวิจัย (ถ้ามี)
- ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)