ความยุติธรรม (On Justice)
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความที่เป็นผลมาจากการศึกษาหาความหมายของคำว่า”ยุติธรรม” โดยเปรียบทียบแนวคิดของนักคิด 3 กลุ่มด้วยกันคือ กลุ่มมาร์กซิสต์ กลุ่มอรรถประโยชน์นิยมและแนวคิดของจอห์น รอว์ส ความยุติธรรม เป็นนามธรรมที่เข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตส่วนบุคคลและชีวิตทางสังคมของมนุษย์ตลอดเวลา นักคิดนักปรัชญาจำนวนมากที่พยายามแสวงหาคำตอบของคำว่ายุติธรรม กลุ่มมาร์กซิสต์มองว่า ความ อยุติธรรมของสังคมเกิดขึ้นเนื่องจากมีชนชั้นหนึ่งซึ่งเป็นชั้นชั้นเจ้าของปัจจัยการผลิตของสังคม กล่าวคือเป็นเจ้าของทรัพยากรและเทคโนโลยีเครื่องไม้เครื่องมือในการผลิต อาศัยโครงสร้างส่วนบนของสังคมเป็นเครื่องมือทำการขูดรีดเอา “มูลค่าส่วนเกิน” จากอีกชนชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นชนชั้นที่ยากไร้ เป็นชนชั้นที่ต้องขายแรงงานของตนเองเพื่อการยังชีพ สังคมที่ยุติธรรม คือสังคมที่ปราศจากการขูดรีด นั่นเอง กลุ่มอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism) มองเห็นว่าความยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผลที่ได้รับจากสิ่งต่างๆหรือการตัดสินใจใดๆให้ประโยชน์สุขหรือสร้างความพึงพอใจให้กับคนส่วนใหญ่ของสังคม ในขณะที่รอว์ส (Rawls) มองว่า ความยุติธรรมในสังคมจะเกิดได้เมื่อ “ค่านิยมทางสังคมต้องปวงไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในโอกาส รายได้และความมั่งคั่ง ตลอดจนฐานต่างๆอันเป็นที่มาของการเคารพในตนเอง จะต้องแจกแจงอย่างเสมอภาคกัน นอกจากความไม่เสมอภาคในการแจกแจงสิ่งใดหรือทุกอย่างของค่านิยมเหล่านี้จะให้ประโยชน์กับทุกๆคน” นั่นเอง
Abstract
This article aims to explore the meaning of justice expressed by three schools; Marxism Utilitarianism and Rawls. Justice is an abstract that is related to the personal and social life of mankind. Many philosophers tried to find the answer to the word of justice. Marxists see the injustice of a society as having one class, the owner of the means of production, i.e., ownership of resources and technology, employed the upper structure of society as a tool to exploit "surplus value" from another class. Thus, a just society is the one without exploitation. Utilitarianism sees justice as the result of any given thing or decision making pleasure or satisfaction to the majority of society. While Rawls sees social justice occur as a "social values, in the sense of freedom of opportunity, income, wealth and all sources of self-respect must be equally distributed. Unless, the inequalities in the distribution of any or all of these values will benefit everyone. "