การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาสำนักงานเขตสวนหลวง (Administrative Performances based on Good Governance: A Case Study of Suan Luang District Office)

  • Thitima Lertrungruengchai

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษาสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ใช้วิธีวิจัยเอกสารและวิจัยสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการสังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล จำนวน 10 คน ผลการศึกษา พบว่า การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร คือ การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอยู่ในศีลธรรมและจริยธรรม มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้วยความสะดวก รวดเร็ว การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เสนอความเห็นและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เขตสวนหลวง การปฏิบัติหน้าที่ด้วยสำนึกในความรับผิดชอบต่อประชาชน ใส่ใจต่อปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชน กระตือรือร้นในการแก้ปัญหาและรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น และยึดหลักการใช้ทรัพยากรทางการบริหาร และงบประมาณอย่างคุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ปัญหาและอุปสรรคการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานขาดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และขาดการมีส่วนร่วม การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบไม่ชัดเจนและไม่ปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติราชการ บุคลากรบกพร่องในหลักคุณธรรมจริยธรรม ยังยึดติดกับผลประโยชน์ บุคลากรใช้ทรัพยากรของหน่วยงานอย่างไม่รู้คุณค่า วิธีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล คือ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การสนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงาน มีการประชุมมอบหมายงานให้ชัดเจน  และการเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารกับประชาชนให้หลากหลาย


 Abstract :


            This research aims to study administrative performances based on good governance: A Case Study of Suan Luang District Office, Bangkok , by employing both documentary research and field research. Data were collected by structured interview. The samples were 10 government officials who work in Suan Luang office, Bangkok .The results of the study showed that the administrative performances of Suan Luang office was in accordance with the good corporate governance for they comply with the laws, rules, regulations, committed to duties with integrity, morally and ethically. Information was full disclosed so that people can access in a convenient way. The opportunity for people in all sectors to express their opinions and participate in solving problems in Suan Luang area was opened. The Office performed duties with a sense of responsibility to the people, pay attention to the problem and the hardship of the people and also be enthusiastic in solving problems and take responsibility for the results. It used administrative resources and budget worthy for the benefit of the people. Problems and obstacles to good governance management were as followed: a lack of efficiency in communication and participation. The division of responsibilities is not clear and does not work according to the plan of the government. Personnel seem to have ethical problems as they attached to their own benefits. They used the resources of the office freely without considering of their values. The solution to problems and obstacles in the administration of good governance were to organize activities that promote morality and ethics and cultivate a sense of responsibility among the personnel, encourage them to participate in performance reviews, having a clear assignment and increasing communication channels with people.

Published
Dec 14, 2018
How to Cite
LERTRUNGRUENGCHAI, Thitima. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาสำนักงานเขตสวนหลวง (Administrative Performances based on Good Governance: A Case Study of Suan Luang District Office). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 1, n. 3, p. 96-118, dec. 2018. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/118>. Date accessed: 23 dec. 2024.