ภาวะผู้นำของผู้บริหาร: กรณีศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (Leadership of Administrators: A case study of the Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Public Health)

  • Sudtinee Chawanthayatum

Abstract

บทคัดย่อ


              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำด้านการปฏิบัติงาน ด้านพฤติกรรม ด้านการสื่อสาร ด้านการตัดสินใจ และด้านมนุษยสัมพันธ์ ของผู้บริหาร กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสารและวิจัยสนาม ในส่วนของการวิจัยสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ เป็นการบริหารงานในลักษณะมุ่งความสำเร็จของงาน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ มีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนางานด้วยความมุ่งมั่น สามารถใช้ภาวะผู้นำในการสั่งการภายใต้การตัดสินใจที่เด็ดขาด ทันต่อสถานการณ์ และเป็นไปตามบริบทการดำเนินงานที่ต้องตอบสนองต่อคำสั่งการของผู้บริหารระดับสูงตลอดเวลา แต่ขาดการสื่อสาร และการสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างสมาชิกในองค์การ ไม่ตระหนักถึงความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงาน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและบุคลากรเกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ผู้ใต้บังคับบัญชามองว่าผู้บริหารให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ของงานเพียงอย่างเดียว  ไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างมนุษยสัมพันธ์ และการสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานไม่ว่าจะภายใน หรือภายนอกองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารงาน


 


Abstract


                  The purpose of this research was to study leadership from different aspects, i.e. working, behavior, communication, decision making and interpersonal relations of the administrators of the Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Public Health. By using both documents and field research methods, data were collected by reviewing related literature and by structured interviews from 15 key informants. The findings were that administrators of the Office have leadership in managing for the success of the job. They are knowledgeable and having visions to develop work with commitment. Also, they are able to use leadership in making decisions under decisive decisions in time and in accordance with the context of the operation that must respond to the executive order at all times. But it did create problems of communication and good cooperation between members in the organization. They did not aware of the satisfaction of the subordinates in the operation which makes the relationship between the administrators and personnel incomprehensible. The subordinates viewed that the administrators focused only on the results of the work.. They did not give priority to creating human relations and network of operations whether within or outside the organization which is important to help maximize the benefits of organization administration.


 


 

Published
Dec 16, 2019
How to Cite
CHAWANTHAYATUM, Sudtinee. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร: กรณีศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (Leadership of Administrators: A case study of the Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Public Health). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 2, n. 3, p. 52-83, dec. 2019. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/145>. Date accessed: 23 dec. 2024.