ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformation Leadership)
กรณีศึกษาสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 5 นครราชสีมา (A case study of Skill Development Institute, Region 5, Nakhon Ratchasima)
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กรณีศึกษาสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 5 นครราชสีมา เป็นการนำแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (transformational leadership) โดยอ้างอิงหลักคุณภาพสำคัญ 4 ประการของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( 4 key qualities of transformational leaders) คือ ความมีอุดมการณ์ (charismatics) การสร้างแรงบันดาลใจ (inspirational leadership) การกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ (intellectual stimulation) และการให้ความสำคัญรายบุคคล (Individualized consideration) มาศึกษาข้าราชการของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 5 นครราชสีมาที่ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่าย โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 6 คน โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาความมีอุดมการณ์ของผู้นำในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 5 นครราชสีมา 2. เพื่อศึกษาการสร้างแรงบัลดาลใจของผู้นำในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 5 นครราชสีมา 3. เพื่อศึกษาการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของผู้นำในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 5 นครราชสีมา 4. เพื่อศึกษาการให้ความสำคัญเป็นรายบุคคลของผู้นำในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 5 นครราชสีมา จากการศึกษาพบว่าภาวะผู้นำของข้าราชการที่ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายของตรงตามหลักคุณภาพสำคัญ 4 ประการของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( 4 key qualities of transformational leaders) ทุกประการและยังพบว่าข้าราชการของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 5 นครราชสีมาที่ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างบารมี ความมีอุดมการณ์ (charismatics) และพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างมากที่สุด
Abstract
The research aims to study transformational leadership of Skill Development Institute, Region 5, Nakhon Ratchasima. It tends to implement the concept of transformational leadership based on the four key qualities i.e.; ideology (charismatics), inspiration (inspirational leadership), stimulating creativity (Intellectual stimulation) and individual focus (Individualized consideration) to study the civil servants of the Skill Development Institute who serves as the head of the departments. By employing a random sampling method, 6 samples were selected. The objective of the research were 1) to study the ideology of the leaders in the performance of civil servants under the Skill Development Institute 2) to study the inspiration of the leaders in The work of civil servants under the Skill Development Institute 3) to study the stimulation of creativity of leaders in the work Government officials under the Skill Development Institute 4) to study the individualization of the leaders in the performance of civil servants under the Skill Development Institute . The research found that the civil servants of the Skill Development Institute, who acted as heads of the departments have emphasized on creating prestige or ideology (charismatics) and typical behavior.