การคอร์รัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตรัง (Corruption in Local Administration Organizations: A case study of Trang Province)

  • Nathapob Chiengsorn

Abstract

บทคัดย่อ                                                                                                                       


               งานวิจัยเรื่อง การคอร์รัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตรังเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ซึ่งเลือกใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างจาก ข้าราชการ /พนักงาน/เจ้าหน้าที่ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดตรัง โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยยึดเป้าหมายเป็นหลัก จำนวน 100 คน ผลการวิจัยพบว่า ช่องทาง โอกาสและพฤติกรรมการคอรัปชั่นในรูปต่างๆที่เกิดขึ้นมาก ได้แก่การเลือกจ้างหรือแต่งตั้งญาติและพรรคพวกตน  การแทรกแซงการประมูลการจัดซื้อจัดจ้าง การใช้อำนาจตำแหน่งเอื้อประโยชน์ให้บริษัท/สถานที่ประกอบการของตนและพรรคพวก การมีหุ้นหรือผลประโยชน์ในบริษัท/สถานประกอบการที่ได้รับการประมูล มีผลประโยชน์ร่วมในกิจกรรมบางประเภทที่สามารถใช้อำนาจหน้าที่ของตนบันดาลประโยชน์ และการใช้งบประมาณแผ่นดิน ภาษีท้องที่ในโครงการที่เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจที่ตนและพรรคพวกได้รับสัมปทาน และปัจจัยที่ก่อให้เกิดและสนับสนุนการคอรัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากคือ การมีตำแหน่งหน้าที่ที่เอื้ออำนวยต่อการกระทำความผิด การเล่นพรรคเล่นพวก อุปถัมภ์ค้ำชูกันระหว่างนักการเมือง นายทุน ข้าราชการ การเล่นพรรคเล่นพวกหรือการยึดถือประโยชน์ของพวกพ้องมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม วัฒนธรรมนายกับลูกน้อง ในลักษณะน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า เพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกัน และระบบการควบคุมภายในไม่รัดกุม รวมไปถึงการขาดความจริงจังในการจัดการแก้ไขการคอรัปชั่นของรัฐ  และการลุ่มหลงในอำนาจ เกียรติยศ ชื่อเสียงทำให้หลงระเริงในการใช้อำนาจและแสวงหาผลประโยชน์ของคนในสังคม


 


Abstract


            The research entitled “Corruption in  local government organizations: a case study of  local government organizations in Trang province” is a quantitative research. It designed to use the method of data collection by using questionnaire distributed to 100 government officials / employees / staffs who work under the local government organizations. They were selected  as a sample group based on the objectives of the research. The result of the research shows that the channels of opportunity and behavior in various forms of corruption most occurred were  choosing to hire or appoint relatives and associates, procurement auction intervention, using of position power to take advantage for their company / place of business and their associates, having shares or benefits in the auctioned company / establishment, having interest in certain activities that can be acquired by the authority, and using the national budget and local taxes on projects that benefit their businesses. Otherwise, the factors that cause and support corruption in the local government organization are ; having a position that is favorable to the commission of an offense, nepotism and fostering mutual support among politicians, capitalists, civil servants, or holding on to their interests rather than the common good, subjective culture for the benefit of each other, the internal control system is not effective, including the lack of seriousness in managing the corruption of the state, and the enchantment of power, honor and reputation, indulge in the exercise of power and the interests of the people in the society

Published
Dec 19, 2019
How to Cite
CHIENGSORN, Nathapob. การคอร์รัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตรัง (Corruption in Local Administration Organizations: A case study of Trang Province). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 3, n. 1, p. 71-103, dec. 2019. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/151>. Date accessed: 22 nov. 2024.