แนวทางการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับการท่องเที่ยว ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง (Approach for tourism management of local administrative organizations in the central Chao Phraya River Basin)

  • Vichet Ludpa 188 หมู่8 บ้านหนองนกเขียน ตำบลหนองน้ำใส อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 40110
  • Somsak Srisontisuk มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Yupaporn Yupas มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Abstract

บทคัดย่อ


                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลางสู่ความยั่งยืน โดยหน่วยในการวิเคราะห์ในระดับองค์กร คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสิงห์บุรี ได้แก่ ผู้บริหาร และบุคลากรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 200 ตัวอย่าง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 5 จังหวัด ที่ ระดับความเชื่อมั่น 95 % (Yamane, 1973) โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในแต่ละจังหวัด ดังนี้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 80 องค์การ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 40 องค์การ จังหวัดนนทบุรีจำนวน 40 องค์การ จังหวัดอ่างทองจำนวน 40 องค์การ และ จังหวัด สิงห์บุรีจำนวน 40 องค์การ  โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับการท่องเที่ยวในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง ใน 5 ประเด็น คือ ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านโครงสร้างการบริหาร ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านความเป็นเจ้าภาพ และปัจจัยการมีส่วนร่วม


          จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านโครงสร้างการบริหาร ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านความเป็นเจ้าภาพ และปัจจัยการมีส่วนร่วม โดยทุกปัจจัยส่งผลในเชิงบวก นั่นคือ หากเพิ่มปัจจัยทั้งห้าด้านย่อมเพิ่มผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยด้านทรัพยากรที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวมากที่สุดถึง 0.543 เท่า รองลงมาคือปัจจัยด้านความเป็นเจ้าภาพ 0.289 เท่า, ปัจจัยด้านบุคคล 0.229 เท่า,ปัจจัยการมีส่วนร่วม 0.192 เท่า และปัจจัยด้านโครงสร้างการบริหาร 0.121 เท่า ตามลำดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.950 และอำนาจในการทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ร้อยละ 82.20 และมีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยโดยส่วนมากอยู่ระหว่าง 0.305 ถึง 0.574 และมีค่าความสัมพันธ์สูงสุดคือปัจจัยความเป็นเจ้าภาพและปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมมีค่าความสัมพันธ์ เท่ากับ 0.949 ซึ่งสามารถเขียนสมการรูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับการท่องเที่ยวในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง ได้ ดังนี้   การบริหารจัดการการท่องเที่ยว =  1.470+ 0.229ปัจจัยด้านบุคคล+ 0.121ปัจจัยด้านโครงสร้างการบริหาร+ 0.534ปัจจัยด้านทรัพยากร+ 0.289 ปัจจัยด้านความเป็นเจ้าภาพ+ 0.192ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม


Abstract


            This article is part of a thesis on new management styles of local government organizations for sustainable tourism management in the Central Chao Phraya River Basin, it is presenting information on the factors that affect the administration of the local government organization for tourism in the central Chao Phraya River Basin. This research is a quantitative research with the objective of studying is finding the factors affecting tourism management of local administrative organizations to sustainability in the Central Chao Phraya River Basin. The unit of analysis is organizational level of the local government organization in the Phra Nakhon Si Ayutthaya Pathum Thani Province Nonthaburi Province Ang Thong Province and Sing Buri province, namely the administrators and personnel of the local government organization.


          The sample size is 200 samples by using a simple random sampling with acceptable confidence levels of 95% (Yamane, 1973), which divided into sample groups of administrative organizations in each province as follows: Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, amount 80 organizations, Pathum Thani Province, 40 organizations, Nonthaburi Province, 40 Organizations, Ang Thong Province, 40 Organizations and Sing Buri Province, 40 Organizations and collect data by using 5 point to find out the effect factor which consist of the human factor, Management structure factors, Resource factor, Host factor, and participation factors.


          The study found that factors affecting to tourism management of local administrative organizations in the central Chao Phraya River Basin consist of personal factors, Management structure factors, Resource factor, Host factor and participation factors, all of which have a positive effect, that if adding all five factors will increase tourism management results as well. Especially the resource factors that affect tourism management the highest was 0.543 times, followed by host factors 0.289 times, Personnel factors are 0.229 times, participation factors are 0.192 time, and administrative structure factors are 0.121 times.


          The reliability of the questionnaire is 0.950 and the power to predict the factors that affect the tourism management is 82.20% and the relationship between the factors are 0.305 to 0.574 and the highest relationship is the host factor and participation factor is 0.949 which can be written as follows.


          Tourism management factors = 1.470+ 0.229 Human factors + 0.121 Administrative structure factors + 0.534 Resources factors + 0.289 Host factors + 0.192 Participation factors.

Published
Dec 25, 2020
How to Cite
LUDPA, Vichet; SRISONTISUK, Somsak; YUPAS, Yupaporn. แนวทางการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับการท่องเที่ยว ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง (Approach for tourism management of local administrative organizations in the central Chao Phraya River Basin). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 3, n. 3, p. 1-20, dec. 2020. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/182>. Date accessed: 24 nov. 2024.