การเมืองยุคแบ่งขั้วกับการปฏิบัติการข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์ในช่วง พ.ศ. 2557- 2562 (Information Operation on Social Media in the age of Political Polarization Period of 2014- 2019)

  • Pakasit Wattana PHD student
  • Tipparat Bubpasiri
  • Pan Chatchaiyan
  • Wutthipol Wutthiworapong

Abstract

บทคัดย่อ


            นับแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา การสื่อสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดียได้ถูกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการตราพระราชบัญญัติต่างๆ เนื่องจาก การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดียนั้นยากต่อการควบคุม ก่อให้เกิด“สงครามข้อมูลข่าวสาร” ซึ่งครอบคลุมถึงการปฏิบัติการข่าวสาร งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการปฏิบัติการข่าวสารบนสื่อโซเชียลมีเดียช่วงระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2562 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในฐานะผู้ใช้อำนาจรัฐ และกลุ่มการเมืองผู้ที่ไม่ใช่รัฐ ตลอดจนผลกระทบต่อความคิดและพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหาการแสดงออกทางความคิด  และพฤติกรรมทางการเมืองบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ยูทูบ ทวิตเตอร์ และ กูเกิลเสิร์ช จากผลการวิจัย พบว่า การปฏิบัติการข่าวสารของแต่ละฝ่ายมีการใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกัน โดยผู้ใช้อำนาจรัฐใช้กลไกทางกฎหมายเพื่อควบคุมสื่อ และสื่อสารข้อเท็จจริงผ่านโซเชียลมีเดียในระดับต่างๆ ในขณะที่ผู้ที่ไม่ใช้รัฐใช้การสร้างวาทกรรมเพื่อตอบโต้ และสร้างความรู้สึกร่วมกับกลุ่มชายขอบในประเด็นความเหลื่อมล้ำ การปฏิบัติการข่าวสารทางจิตวิทยาดังกล่าวผนวกกับกลไกของสื่อโซเชียลมีเดีย ทั้งการสร้างพื้นที่ชุมชนเสมือนจริง ที่ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ง่ายขึ้นและสามารถใช้วาทกรรมได้อย่างเสรีและรุนแรงมากขึ้น กอปรกับกลไกการคัดเลือกข่าวสารที่เหมาะสมกับลักษณะความสนใจของผู้ใช้ทำให้เกิดการรับเนื้อหาย้ำเพียงด้านเดียว และเกิดอคติเชิงยืนยันเสมือนอยู่ในห้องเสียงสะท้อนเป็นผลให้การแบ่งขั้วทางการเมืองทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนช่วงระยะเวลาที่ศึกษา


 


Abstract


             Since 2014, the communication on social media has been featured from the new enactment. The social media is not under nation power. This lead to be used in “Information warfare” which includes information operation (IO). The aim of this paper is to study information operation on social media in of Nation Council for Peace and Order (NPCO) as a state actor and others as non-state actors during 2014-2019.  This paper is qualitative content analysis for political behaviors of social media users on Facebook, YouTube, Twitter and Google search platforms. The study found different strategies operated; the state legislates media control law and communicate fact through different social media channel, while the non-state use hate speech to attack the state as well as create hope among a marginal group regarding inequality issues. Such a psychological operation as well as computer operation by understanding characteristics of social media platforms producing virtual communities. These factors encourage people to participate in political issues. Hate speech appears to be a supplement factor. With social media algorithm like like-minded algorithm, social media users are feed with the same content, making them as in echo chamber and confirmation bias situations. This results in political polarization, trending to instruct people to be the extremist compared to the prior study period.


 

Published
Dec 25, 2020
How to Cite
WATTANA, Pakasit et al. การเมืองยุคแบ่งขั้วกับการปฏิบัติการข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์ในช่วง พ.ศ. 2557- 2562 (Information Operation on Social Media in the age of Political Polarization Period of 2014- 2019). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 3, n. 3, p. 68-106, dec. 2020. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/186>. Date accessed: 13 nov. 2024.