ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (The further education requirement in the Master of Public administration, Faculty of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon)

  • Narong Phophueksanand
  • Prayut Thiamsuk
  • Maythika Puangsang Rajamangala University of Technology Phra Nakhon

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2) เป็นแนวทางในการจัดการหลักสูตรปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่คาดหวังว่าจะศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) โดยปฏิบัติในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และอาชีพอิสระ ธุรกิจส่วนตัว ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 420 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีเหตุผลความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อต้องการเพิ่มพูนความรู้พัฒนาความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และเมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถนำวุฒิการศึกษาที่ได้ไปปรับเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือน โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการวางแผนเกี่ยวกับการศึกษาต่อภายใน 1 ปี ไม่เกิน 2 ปีข้างหน้า และสนใจศึกษาต่อในหลักสูตรภาคนอกเวลาราชการ (เสาร์-อาทิตย์) รองลงมาคือ หลักสูตรภาคนอกเวลาราชการ (ภาคค่ำจันทร์-ศุกร์) และต้องการรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในลักษณะผสมผสานโดยศึกษาแบบบรรยายในชั้นเรียนร่วมกับการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ส่วนปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการตัดสินใจศึกษาต่อในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการ และด้านภาพลักษณ์ของคณะศิลปศาสตร์ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสถานที่ตั้ง อยู่ในระดับมาก และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ การศึกษา และประสบการณ์ แตกต่างกัน มีความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท สาขารัฐประศาสนาศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ อาชีพและตำแหน่งงานในปัจจุบันแตกต่างกัน มีความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท สาขารัฐประศาสนาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร แตกต่างกัน


 Abstract


The aims of this research were to 1) study the desire to further study in the Master of Public administration, Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon and 2) set a guide in managing the master's degree program in   Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. The sample group used in this research was composed of those who expect to study at the graduate level in Master of Public Administration Program from government sector, company and business owners and those who own bachelor's degree and also live in Bangkok and metropolitan area 420 people by accidental sampling. Questionnaire were used as a tool to collect the data. Processed by computer program and the analytical statistics used to analyze the quantitative data were frequency, mean and standard deviation. The results of the study showed that: The subjects reasonably desired to study the Master of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, in order to increase knowledge, develop career progression and when graduation can bring the qualification obtained to adjust the position and salary. The sample interested applicants want to further their study within 1 year, not exceeding 2 years after graduation, and needed to study on Saturday and Sunday, evening or any time after work, and want to sit in classes together with online teaching. Factors that the sample used in deciding to study in the Master of Public Administration Program are curriculum, management and image of the Faculty of Liberal Arts respectively. Factors that showed the lowest mean is location of the university. And the results of hypothesis testing showed that sex, education and experience have no relation with the desire to study in Master of Public administration, while age, occupation and position have a positive relation with the desire to study in Master of Public administration.

Published
Nov 30, 2020
How to Cite
PHOPHUEKSANAND, Narong; THIAMSUK, Prayut; PUANGSANG, Maythika. ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (The further education requirement in the Master of Public administration, Faculty of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 3, n. 3, p. 107-129, nov. 2020. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/190>. Date accessed: 13 nov. 2024.