สมรรถนะของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรในมหาวิทยาลัยรามคำแหง (The competency of faculty members responsible for the program and program faculty members in Ramkhamhaeng University)

  • Weena Phungviwatnikul Ramkhamhaeng University
  • Piyanush Ngernklay Ramkhamhaeng University
  • Vongphak Poopunsri Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรในมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะภูมิหลังกับสมรรถนะของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรในมหาวิทยาลัยรามคำแหง 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรในมหาวิทยาลัยรามคำแหง การวิจัยนี้ใช้การสุ่มแบบเจาะจง จำนวนอาจารย์ 139 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สำหรับข้อมูลจากแบบสอบถาม


 ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะในการปฏิบัติงานและสมรรถนะในการจูงใจของของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรในมหาวิทยาลัยรามคำแหง อยู่ในระดับสูงทุกด้าน 2) ลักษณะภูมิหลังด้านระดับการศึกษาและประสบการณ์ในงานส่งผลต่อสมรรถนะของของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรในมหาวิทยาลัยรามคำแหง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านเพศและอายุ สมรรถนะในการปฏิบัติงานและสมรรถนะในการจูงใจส่งผลต่อสมรรถนะของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรในมหาวิทยาลัยรามคำแหง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์กันไปในทางเดียวกันสูงขึ้น 3) การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ตามแนวทางและหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) พ.ศ.2560 และ พ.ศ.2561


Abstract


This research has three objectives: to explore the competency of faculty members responsible for the program and program faculty members in Ramkhamhaeng University, to compare the background characteristics and the competency among these two groups of the faculty members, and to suggest guidelines for competency development of these faculty members.  The survey research was purposively selected, while 139 faculty members were randomly selected and analyzed by using percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA and correlation for quantitative data from the questionnaire returned. The research found that competency enhances the better performance to be rated at high levels for these faculty members. Educational backgrounds and job experiences were correlated to the competency in the level of statistical significance at 0.05 except in sex and age. Competency of performance and competency of motivation effected the faculty members in the level of statistical significance at 0.01 and had a relationship at high level. The competency development was suggested guidelines for the faculty members by Civil Service Commission in Higher Education Institutions, B.E. 2560 and B.E. 2561.

Published
Apr 20, 2021
How to Cite
PHUNGVIWATNIKUL, Weena; NGERNKLAY, Piyanush; POOPUNSRI, Vongphak. สมรรถนะของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรในมหาวิทยาลัยรามคำแหง (The competency of faculty members responsible for the program and program faculty members in Ramkhamhaeng University). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 23-52, apr. 2021. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/205>. Date accessed: 22 nov. 2024.