ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี (Political movement and voting behavior in Kanchanaburi)

  • Natthapong Boonlue Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University
  • Pornchai Dhebpanya Faculty of Management Science, Silpakorn University

Abstract

บทคัดย่อ


            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาบรรยากาศทางการเมือง ความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรและกลุ่มการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครฯ บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะและองค์กรอื่นๆ ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนและกลุ่มการเมืองที่เกี่ยวข้องกับผู้สมัครฯ การใช้ทรัพยากรโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการหาเสียง และการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพจากข้อมูลเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 นั้นประชาชนมีความตื่นตัวและรับรู้การเลือกตั้งเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ มีการแลกเปลี่ยน เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการหาเสียง การนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองผ่านทางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย ในขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมีการทำงานเชิงรุกมากขึ้นในการสร้างความเข้าใจต่อกฎหมายและระเบียบการเลือกตั้ง ในประเด็นด้านตัวบุคคลของผู้สมัครรับเลือกตั้งมีความสำคัญเป็นลำดับแรกที่มีผลต่อการได้รับการเลือกตั้ง และนโยบายของพรรคการเมืองเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญเช่นเดียวกัน นอกจากนี้การตัดสินใจของประชาชนในการลงคะแนนเสียงยังเป็นผลจากระบบอุปถัมภ์และเครือข่ายทางการเมืองของนักการเมืองอีกด้วย อย่างไรก็ตามประชาชนมีค่านิยมและความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากด้วยการคำนึงผลประโยชน์จากการตัดสินใจทางการเมือง รู้และเข้าใจถึงความสำคัญของการเลือกตั้งที่มีต่อตนเองและสังคมโดยรวม


 Abstract                                                                                              


                    The research aim is to study political movement and political behavior of political organizations, both private and publics, political interest groups. Also, political behavior of those candidates and voters of the 2019/3/24 election had been examined interims of financial expenditure for the context. At the end of the study, its findings were the factors affecting over political decision-making of the voters and result analysis of the 2019/3/24 Kanchanaburi’s election were included. It employed qualitative research. Data collected from documentary data, non-participation observation and key informants’ interview. The findings are: Interims of political behavior chosen that many political movements among voters a candidate such as chasing of political information and policy of the parties in uses of social media technical. PEC used proactive management tools to make voters understanding of election law and regulations. Mort of all, interims of voter’ decision making, candidates’ characteristics were still the first priority, and supported strongly by party’s policy. The important factor was patronage system in the society. The study shown that political behavior changes in Kanchanaburi had been shown in this study interims of political decision in 2019/3/24 had been developed in some level of political and social responsibility this political predomination.


 

Published
Apr 19, 2021
How to Cite
BOONLUE, Natthapong; DHEBPANYA, Pornchai. ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี (Political movement and voting behavior in Kanchanaburi). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 167-203, apr. 2021. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/223>. Date accessed: 13 nov. 2024.