การจัดการทรัพยากรร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่สูง (Common-pool resource management of the hill tribes)

  • Ratthasirin Wangkanond Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng university

Abstract

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรัพยากร การจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมของกลุ่มชาติในพื้นที่สูงและตัวแสดงต่างๆ โดยศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กับตัวแสดง  รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายและการบัญญัติกฎหมาย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาจากกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่สูงจำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ศึกษาสองพื้นที่คือ ที่บ้านห้วยหินลาดใน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และหมู่ 4 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ศึกษาที่บ้านป่าเกี๊ยะ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย รวมทั้งศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนภาคประชาสังคม ด้วยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม


ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่าภาครัฐควรใช้กลไกในการบัญญัติกฎหมายโดยคำนึงถึงศักยภาพของชุมชนในการมีส่วนร่วมบัญญัติกฎหมาย และเพื่อให้กฎหมายที่ถูกบัญญัติขึ้นให้อำนาจแก่ประชาชนในการจัดการกับทรัพยากรร่วมในชุมชน รวมทั้งควรทบทวนโครงสร้างและบทบาทอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ                                   


Abstract


This study aims to explore the resources, resource management and utilization of the hilltribe and relevant actors; to study the participations and interactions between the hilltribe and other actors; to propose the useful suggestions in policy formulation and law enactment. This research is a qualitative research which gathering data by documentary analysis, semi-structured interview, and non-participatory observation. The key informants were 1) the Karen Ethnic Group in Huay Hin laad Nai Village, Wiang Pa Pao District, Chiang Rai Province; and the Karen in Moo4, Baan Chan, Kalayaniwatana District, Chiang Mai Province 2) The Akha Ethnic Group in Pa Kia Village, Mae Suai District, Chiang Rai Province. The other research participants are the Civil Society Organizations and the specialists.


According to the study, it is found that the government should be aware of the competence of the community and engaging them to participate in the legislation process. The law that had been created with people participation should empower them to manage common-pool resources in the community.  It is necessary to revise the structure and authority of the regulatory body in natural resource management.

Published
Apr 30, 2021
How to Cite
WANGKANOND, Ratthasirin. การจัดการทรัพยากรร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่สูง (Common-pool resource management of the hill tribes). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 4, n. 1, p. 83-110, apr. 2021. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/226>. Date accessed: 02 may 2024.