การพัฒนาความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-เมียนมา ในยุคประชาธิปไตยใหม่ระหว่าง ค.ศ. 2011-2021 (Development in Japan-Myanmar relations in New Democracy Period during 2011-2021)

  • Satin Soonthornpan Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

 บทคัดย่อ      


         บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเมียนมาในยุคประชาธิปไตยใหม่ระหว่าง ค.ศ. 2011-2021 ว่าการที่เมียนมากลับเข้ามาสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอีกครั้งและยึดแนวทางแบบสากลในหลายๆ ประเด็นนั้น ทำให้เมียนมาได้รับการยอมรับในเวทีโลก ทำให้หลายประเทศกลับมาฟื้นฟูความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ กับเมียนมา โดยเฉพาะมิติด้าน การทูต เศรษฐกิจ ทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน (เงินกู้ เงินให้เปล่า) ด้านเทคนิค เป็นต้น ซึ่งญี่ปุ่นก็ถือเป็นหนึ่งในชาติที่ได้เข้ามารื้อฟื้นความสัมพันธ์ที่มีกับเมียนมาที่หยุดชะงักไปในช่วงของรัฐบาลทหารเมียนมาปกครองประเทศก่อนหน้า ค.ศ. 2010 ซึ่งในระยะเวลาประมาณ 10 ปีนี้ (ค.ศ. 2011-2021) ญี่ปุ่นถือว่ามีส่วนสำคัญในการเข้ามาพัฒนาเมียนมาทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และการดึงเมียนมากลับเข้าสู่แนวทางของประชาคมโลก ถึงแม้ในส่วนหนึ่งญี่ปุ่นจะทำไปเพื่อผลประโยชน์ของญี่ปุ่นเองโดยเฉพาะในส่วนของภาคเอกชนที่มีบริษัทญี่ปุ่นมากมายที่เข้าไปลงทุนทั้งในการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การเข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของเมียนมา (Myanmar Special Economic Zones- SEZs) และการเข้าไปร่วมพัฒนาท่าเรือ สนามบิน และอื่นๆ ซึ่งก็เป็นความร่วมมือแบบผสมผสานกันระหว่างภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่น โดยรัฐบาลญี่ปุ่นก็ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่เมียนมาเป็นจำนวนในทศวรรษนี้ ญี่ปุ่นถือว่าเป็นกลจักรสำคัญส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาของเมียนในมิติต่างๆ ให้มีความยั่งยืนและกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการปฏิรูปทางการเมือง การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่เคยมีปัญหากับรัฐบาลเมียนมาบ่อยครั้งตั้งแต่ในอดีต


 


Abstract


            This article has objectives to study Myanmar in new democracy period during 2011-2021, that did not only bring Myanmar back to democracy regime again, but also bring it back to international values in many aspects. These democracy and international values make Myanmar be accepted in the international stage. Many countries returned to revitalize the relations with Myanmar in many perspectives mainly on diplomacy, economic, financial aid (loan and free grant), technical support. Japan is also one of the countries that invigorate relations with Myanmar after suspension in the long period of military junta before 2010. In this approximately 10 years period (2011-2021), Japan has important roles to give development in Myanmar in many dimensions like politics, economic and bring Myanmar back to the international community- valued. Even though Japan also did this for its own interest especially private sector that many Japanese companies invest both in building basic infrastructure and in developing Myanmar Special Economic Zones – SEZs. Moreover, it would develop international ports and airports in Myanmar, all of these happen with cooperation of Japanese public and private sector. Japan gives economic aid to Myanmar in great value during this period. Japan can count as main mechanism to advance Myanmar’s development in many parts to the sustainable level and become the country that gradually rise in economic and political reform level. With the Japanese support, Myanmar also generates the good relations with ethnic and minority groups that in the past make problems with Myanmar.

Published
Aug 12, 2021
How to Cite
SOONTHORNPAN, Satin. การพัฒนาความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-เมียนมา ในยุคประชาธิปไตยใหม่ระหว่าง ค.ศ. 2011-2021 (Development in Japan-Myanmar relations in New Democracy Period during 2011-2021). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 270-313, aug. 2021. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/238>. Date accessed: 23 dec. 2024.