กลยุทธ์ชุมชนสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ ทันสมัย ในพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (Proactive Community Relations Strategy to Create a Modern, Livable Community in the Amphawa area Samutsongkhram Province)
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์เชิงรุกในการสร้างชุมชนน่าอยู่ ทันสมัย ในพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 2. เพื่อศึกษาการบริหารงานชุมชนสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในชุมชนพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการตำรวจระดับบริหารของสถานีตำรวจภูธรอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์ของสถานีตำรวจภูธรอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และประชาชน ในพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีหลายด้าน ได้แก่ จากการสนทนากลุ่ม ซึ่งมีลักษณะพิเศษเพื่อให้งานวิจัยมีประสิทธิภาพจริงและลงมือปฏิบัติเอง การค้นหาข้อมูลจากเอกสาร ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า เพื่อตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลในระหว่างการเก็บข้อมูลเชิงพรรณนา เพื่อหาความแตกต่างโดยการตีความและการแปลความหมายตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยแล้วนำมาวิเคราะห์โดยตีความหมาย แยกแยะเนื้อหา สรุปประเด็นการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์เชิงรุกในการสร้างชุมชนน่าอยู่ ทันสมัย ในพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินการเชิงรุก โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานข้างเคียง ในการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนในชุมชน ทั้งในเรื่องของกฎหมายจราจร ความรู้เรื่องยาเสพติด การป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ พร้อมทั้งร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ เฝ้าระวังป้องกันการเกิดอาชญากรรม และการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ การบริหารงานชุมชนสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในชุมชนพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนในชุมชน ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น มีการประชุมร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ
Abstract
This research has 2 objectives, i.e. 1. to study the operational approaches of proactive community relations on creating a modern and livable community in Amphawa district, Samutsongkhram province and 2. to study the proactive community relations management and public participation in Amphawa district, Samutsongkhram province. The research's sample groups consist of the management-level officers of Amphawa Police Station, Amphawa district, Samutsongkhram province, the community relations police officers of Amphawa Police Station, Amphawa district, Samutsongkhram province, chiefs of relevant agencies in community development within Amphawa district, Samutsongkhram province and the people of Amphawa district, Samutsongkhram province. This research is conducted as qualitative research. The researchers gather information in many aspects. A tailored focus group is used to ensure the efficiency of the research. The direct engagement in data gathering begins with documentary research. Triangulation is applied to the examination and validation of accuracy. The data are analyzed during the descriptive data collection in order to seek out the differences through interpretation of the research’s objectives. The data from the interviews and the focus group are interpreted, distinguished and summarized. The results are as follows: Police officers encourage the public sector to be proactive by cooperating with neighboring agencies, promoting understanding of traffic regulations, illegal substances and local crime prevention among the people in the community as well as recruiting local governmental officials, namely sub-district headmen and village headmen, in monitoring and preventing crimes and substance abuse in the area. Also, the public, private and civil sectors cooperate and engage in activities that are beneficial to their local community. Inter-sector meetings are held to resolve issues.