หลากลีลาการเขียนนำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมในการวิจัย (Various styles of literature review writing)
มุมมองที่แตกต่างของนักวิชาการไทย (Different perspectives of Thai scholars)
Abstract
บทคัดย่อ
การทบทวนวรรณกรรมเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญมากในกระบวนการวิจัย เพราะเป็นขั้นตอนที่จะบอกให้ทราบว่า ผู้ที่ทำการศึกษาเรื่องนั้นๆ มีความรอบรู้ในปัญหาที่ตนทำการวิจัยและได้ศึกษาค้นคว้ามาแล้วมากน้อยเพียงใด (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2546, หน้า 47) วรรณกรรมที่นักวิจัยได้ทบทวนมาจะถูกนำเสนอในรูปการเขียนในบทต่างๆ ของเล่มวิจัย ซึ่งในความเป็นจริงผู้เขียนพบว่านักวิชาการมีคำอธิบายหรือมีลีลาการเขียนผลการทบทวนวรรณกรรมที่แตกต่างกัน การศึกษาจากเอกสารเล่มใดเล่มหนึ่งอาจให้ภาพสะท้อนความเป็นจริงไม่รอบด้าน ดังนั้นบทความนี้จึงทำการรวบรวมความแตกต่างหลากหลายของคำอธิบายโดยจัดแบ่งเป็น 3 ประเด็นลีลาได้แก่ 1) ลีลาการนำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมโดยนำเสนอความคิดเห็นส่วนตนของนักวิจัย 2) ลีลาการนำเสนอส่วนของแนวคิด/ทฤษฎี และส่วนของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 3) ลีลาการนำเสนอโดยใช้เอกสารที่ทันสมัย ทั้งนี้ในแต่ละประเด็นลีลาได้สอดแทรกทัศนะหรือลีลาของผู้เขียนด้วย
Abstract
A literature review is one of the most important steps in the research process as it demonstrates the extent to which researchers are familiar with the relevant research problems and how much they have researched (Suchart Prasithrathsint, 2003, p. 47). While reviewed literature is commonly given its own section within a research paper, many scholars have writing styles when presenting a literature review. Therefore, the study of any singular example may not accurately reflect the possibilities for presenting a literature review. This current article compiles explanations of three different literature styles: 1) the style of presenting the literature review comprising the researchers' personal opinions 2) the style of presenting the concept or theory and the related research, and 3) the presentation style using modern documents. In each style, the author's viewpoint or style is included.