การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของผู้ใหญ่วัยกลางคน (The ageing readiness preparation of the middle-aged adults)

  • Phitsaran Thamrongworakun Faculty of Education, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของผู้ใหญ่วัยกลางคน เทศบาลเมืองเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และตัวแทนบุคคลวัยผู้ใหญ่ช่วงกลาง ที่มีอายุอยู่ระหว่าง 40-59 ปี อาศัยอยู่เทศบาลเมืองเมืองปัก อำเภอ  ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา รวม 10 คน จากการสรรหาแบบสโนว์บอลล์ (snowball sampling)จากนั้นทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ใหญ่วัยกลางคนส่วนใหญ่มีความต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุด้านการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ การบริหารจัดการด้านการเงิน การวางแผนด้านที่อยู่อาศัย และการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม 2) ผู้ใหญ่วัยกลางคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน โดยมีเจตคติต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุในทิศทางที่ยังไม่เห็นถึงความสำคัญเท่าที่ควร 3) ผู้ใหญ่วัยกลางคนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุค่อนข้างน้อย ทั้งการดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย จิตใจ และการเก็บออมเงินที่เหมาะสม และ 4) แนวทางในการสร้างเสริมการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุควรมีการช่วยเหลือจากภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลช่วยเหลือในการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ


Abstract


              The purpose of this research was to study The ageing readiness preparation of the middle-aged adults, Mueang Pak Municipality, Pak Thong Chai District, Nakhon Ratchasima Province. The key informants consisted of the village headman, the village headman's assistant. Village health volunteer and representatives of middle-aged adults who are between 40-59 years old, live in Mueang Pak Municipality, Pak Thong Chai District, Nakhon Ratchasima Province, including 10 people from snowball sampling. The Data were collected by group interview using Semi-structured interview. The results of the study revealed that, 1) The most middle-aged adults had a desire to learn about preparing for the elderly for physical and mental health care, financial management residential planning and building social relationships, 2) The most middle-aged adults focus on their current lifestyles, with attitudes towards preparing for the elderly in the direction that is not yet as important as they should be, 3) The most middle-aged adults had relatively little ageing readiness preparation behaviors, both physical and mental health care and appropriate savings, and 4) Guidelines for enhancing preparation before entering old age should be assisted by the government or related agencies to take care of preparation. entering old age.


 

Published
Aug 26, 2022
How to Cite
THAMRONGWORAKUN, Phitsaran. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของผู้ใหญ่วัยกลางคน (The ageing readiness preparation of the middle-aged adults). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 98-119, aug. 2022. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/273>. Date accessed: 23 dec. 2024.