อาหารเกาหลีทำให้เราเพลิดเพลิน: อุตสาหกรรมวัฒนธรรมในซีรีส์เกาหลี (Korean food enjoys us: Culture industry in Korean series)
Abstract
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนออาหารเกาหลีจากละครซีรีส์เกาหลีภายใต้แนวคิดอุตสาหกรรมวัฒนธรรม เพื่อวิพากษ์การผลิตวัฒนธรรมการเผยแพร่ผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ รวมทั้งกับการครอบงำทางวัฒนธรรมที่กระแสเคป็อปทำให้คลื่นวัฒนธรรมเกาหลีกลายเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต ทำให้ผู้ชมซึมซับวัฒนธรรมการรับประทานอาหารเกาหลี และเชื่อมโยงโลกในละครกับโลกในชีวิตจริงให้เป็นเนื้อเดียวกัน
วิธีวิทยาที่ใช้ในการศึกษาคือ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า คลื่นวัฒนธรรมเกาหลีใช้ละครซีรีส์เกาหลีในการสร้างภาพลักษณ์ความอร่อยของอาหารเกาหลีให้กลายเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ผู้ชมสามารถทำอาหารเกาหลีตามรอยละครซีรีส์ โดยผู้ชมสามารถสร้างประสบการณ์ในการทำอาหารเกาหลีได้ในชีวิตจริง นอกจากนี้ คลื่นวัฒนธรรมเกาหลียังทำให้ผู้ชมซึมซับวัฒนธรรมการรับประทานอาหารเกาหลีโดยผู้ชมสามารถลิ้มลองรสชาติของอาหารเมนูเดียวกับที่ได้ชมจากในละครซีรีส์ที่ตัวเองชื่นชอบ และคลื่นวัฒนธรรมเกาหลียังได้เชื่อมโยงโลกในละครกับโลกในชีวิตจริงให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมในการดูละครซีรีส์ โดยผู้ชมรับรู้ว่าชีวิตในละครซีรีส์ไม่ต่างกับชีวิตจริงที่ผู้ชมสามารถสัมผัสได้เป็นประสบการณ์ตรง ด้วยการท่องเที่ยวเพื่อกินอาหารตามรอยละครซีรีส์เกาหลี
ดังนั้น แนวคิดอุตสาหกรรมวัฒนธรรมจึงช่วยสร้างความกระจ่างและวิพากษ์คลื่นวัฒนธรรมเกาหลีที่แฝงการขายสินค้าหมวดอาหารเกาหลีและสินค้าการท่องเที่ยว โดยที่คลื่นวัฒนธรรมเกาหลีได้ผลิตวัฒนธรรมให้เป็นสินค้ามวลชน
Abstract
This article is a study of Korean food in the selected Korean series by analyzing it with the cultural industry concepts. Its objective is to explain a cultural production as it tends to make Korean culture wave to be a standardization of lifestyle. The Korean culture wave not only allows the audience to absorb Korean food culture, but also harmonizes the drama world with the real world.
The study methodology begins with gathering information from selected documents. The results of this study have found that Korean series create delicious images of Korean food as the standardization of lifestyle. Audiences can cook Korean food like a drama series by creating experiences from Korean food cooking in real life.
In addition, the Korean wave also allows viewers to immerse themselves in Korean food culture. The audience can taste the food which is the same menu as seen in your favorite drama series.
The Korean wave reconciles the drama world with the real world. The viewers feel rejoice in watching the drama series. They realize that life in a drama series is no different from real life. The viewers can get direct experience from the food tour following the Korean dramas.
Finally, the cultural industry concepts provide a clarity of Korean cultural production as mass commodity and a critique that the Korean wave is concealed the sales of Korean food and tourism products.