การวิเคราะห์เนื้อหาด้านความรุนแรง เพศ และภาษากับระดับเรตติ้งในละครหลังข่าว (The content analysis study of TV dramas on violence, sex and language and their rates)

  • Visakha Tiemlom Suan Dusit University

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์เนื้อหาด้านความรุนแรง เพศ และภาษา กับระดับเรตติ้งในละครหลังข่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาด้านความรุนแรง  เพศ  และภาษาในละครหลังข่าวของช่องโทรทัศน์  ในระดับเรตติ้งประเภท ท และ น13+  โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิทยาที่ใช้ในการศึกษาคือ วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยศึกษาจากละครหลังข่าวจำนวน 4 เรื่องคือ กลิ่นกาสะลอง เมียน้อย  ใบไม้ที่ปลิดปลิว และสองนรี   โดยใช้หลักเกณฑ์การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ของ กสทช. ด้านความรุนแรง (Violence) เพศ (Sex) และการใช้ภาษา (Language) พ.ศ. 2556 มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ซึ่งผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้


1) ผลการวิเคราะห์เนื้อหาในภาพรวมของความรุนแรง เพศ ภาษา ในละครหลังข่าวของช่องโทรทัศน์ พบว่าละครเรื่องกลิ่นกาสะลองของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 มีจำนวนฉากของความรุนแรง เพศ และภาษามากที่สุด โดยมีจำนวนฉากโดยเฉลี่ย/ตอน รวม 9.79 รองลงมาคือละครเรื่องสองนรีของสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 มีจำนวนฉากของความรุนแรง เพศ และภาษาโดยเฉลี่ย/ตอนรวม 9.13


2) ผลการวิเคราะห์เนื้อหาด้านความรุนแรง เพศ และการใช้ภาษา กับระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ที่ระบุ พบว่าละครเรื่องกลิ่นกาสะลองและเรื่องเมียน้อยที่ถูกจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ในระดับ  มีเนื้อหาด้านความรุนแรง เพศ และภาษา เกินระดับที่ระบุ ส่วนละครเรื่องใบไม้ที่ปลิดปลิว และเรื่องสองนรี ที่ถูกจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ในระดับ น13+  มีเนื้อหาด้านความรุนแรง เพศ และภาษา เกินระดับที่ระบุ เช่นกัน


ดังนั้นผลการศึกษาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นปัญหาทั้งในส่วนหลักเกณฑ์  และแนวทางการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์โดยหน่วยงานกำกับดูแล การจัดระดับความเหมาะสมโดยผู้ประกอบการ  ตลอดจนความร่วมมือจากภาคประชาชน และความเข้าใจของผู้รับชมเกี่ยวกับความรุนแรง เพศ และภาษา


Abstract


The  content-analysis  study  of TV dramas on  violence, sex, language and their rates is a qualitative research to analyze the contents of violence, sex and language in four TV dramaseries: Klinkasalong, Mianoi, Baimaiteepidpew and Songnari. The study used the criteria for rating the TV program suitability of the NBTC on Violence, Sex, and Language in 2013 as a framework for analysis. The results of the study were divided into 2 parts as follows:


1) The results of the study of the Klinkasalong  drama series contains the highest number of scenes of violence, sex and language, 9.79 scenes. The second,  Songnari contains the  number of scenes of violence, sex and language, 9.13 scenes.


            2) The analysis of the content of the overall of violence , sex and language showed that the drama of Klinkasalong and Mianoi has been rated at “General Rated” but there is  a content of violence, sex and language more than rated at  “General Rated”. In addition, the drama of Baimaiteepidpew and Songnari has been rated at “Group Drama 13” but there is  a content of violence , sex and language more than rated at  “Group Drama 13”.


            The results of the study reflect problems in both the criteria and guidelines for the rating of television programs by regulators. Rating suitability by entrepreneurs as well as cooperation from the public sector and the audience's understanding of violence, gender, and language.

Published
Jun 25, 2022
How to Cite
TIEMLOM, Visakha. การวิเคราะห์เนื้อหาด้านความรุนแรง เพศ และภาษากับระดับเรตติ้งในละครหลังข่าว (The content analysis study of TV dramas on violence, sex and language and their rates). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 162-198, june 2022. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/288>. Date accessed: 25 apr. 2024.