บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยกับการบริหารจัดการขยะ (Roles of Thai local administration organization in solid waste management)

  • Chanapat Chompunitchapat Ph.D program, Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University
  • Natthapong Boonlue Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University
  • Nipon Sohheng Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University
  • Kriangchai Pungprawat Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของกลุ่มจังหวัดที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ปี 2561-2562 ได้แก่ ลพบุรี เลย และลำพูน (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะมูลฝอย (3) เปรียบเทียบการดำเนินงานและการสร้างความร่วมมือในการกำจัดขยะมูลฝอยของประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไต้หวัน ใช้วิจัยเชิงคุณภาพ จากข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกครองอำเภอและจังหวัดที่รับผิดชอบงานการบริหารจัดการขยะ ได้แก่ ท้องถิ่นจังหวัด นายอำเภอ กำนันและผู้ใหญบ้าน ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารจัดการขยะของจังหวัดลพบุรี เลยและลำพูน เป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครองและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทั้งนี้ความสำเร็จเป็นผลจากการขับเคลื่อนในระดับจังหวัดโดยบทบาทนำของผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยการบรูณาการความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ และภาคเอกชนระดับจังหวัด มีหน่วยงานท้องถิ่นจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ ขณะที่ระดับอำเภอเกิดจากการขับเคลื่อนของนายอำเภอบูรณาการการทำงานร่วมกับส่วนราชการอำเภอ ภาคเอกชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน และผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น (2) การรับรู้ การตระหนักของประชาชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้องเป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการจัดการขยะ (3) การกำจัดขยะมูลฝอยของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวัน มุ่งเน้นส่งเสริมเกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จ ได้แก่ การกระตุ้นและสร้างความรับผิดชอบของประชาชน การนำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มสมัยใหม่ รวมถึงพัฒนาแอปพลิเคชันมาช่วยจัดการขยะของเมือง และการสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้แก่ประชาชน


Abstract


The research aimed to, Firstly, study management of community solid waste among winners of Community Solid Waste Prize "Changward Sa-ard" 2561-2562, that were of Lopburi, Loei, and Lamphum. Secondly, study of problems and struggles in solid waste management, and thirdly, deserving of people empower and participation of solid waste management in Thailand, Japan, and Tiwan incomparisons. Methodology used in the research was qualitative methods. Data collecting was drowned from documentary papers and interviewed of those executives and administrators of local autonomies whose responsible to administrative areas such as District and Province also Tambol, Village. Findings shown that, Firstly, in provincial level, all rewarded provinces, the management were under the public policy controlled by Ministry of Interior, Department of Provincial Administration, and Department of Local Administration. The whole success laid on hands of Provincial Governors and local administrative officers. In lower level the success was laid on the integration of both administrative officers from central and local included people participation in the areas. Secondly, the important problems and struggle of the management were those communities lagging of understanding on attitude of the projects and lagging of understanding of laws and regulations. Thirdly, Japan and Tiwan managements pay attentions on enhancing attitudes of the communities interms of participation and people empowerment and using of digital platform and application "Tiwan Gabage Service" and also introducing attitude of public mind.

Published
Jul 1, 2022
How to Cite
CHOMPUNITCHAPAT, Chanapat et al. บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยกับการบริหารจัดการขยะ (Roles of Thai local administration organization in solid waste management). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 228-255, july 2022. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/290>. Date accessed: 13 nov. 2024.