อำนาจชายเป็นใหญ่: ความรุนแรงในละครหลังข่าว (The patriarchy: The violence in TV drama series)

  • Visakha Tiemlom Suan Dusit University

Abstract

บทคัดย่อ


     บทความการวิจัยเรื่อง “อำนาจชายเป็นใหญ่ : ความรุนแรงในละครหลังข่าว” มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาอำนาจชายเป็นใหญ่ โดยใช้แนวคิดเรื่องความรุนแรงประกอบการวิเคราะห์ ในละครหลังข่าวของช่องโทรทัศน์โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยศึกษาจากละครหลังข่าว จำนวน 4 เรื่องคือ กลิ่นกาสะลอง ใบไม้ที่ปลิดปลิว เมียน้อย  และสองนรี


          ผลการศึกษาในละครทั้งสี่เรื่องพบว่า มีละครจำนวน 4 เรื่องคือ  กลิ่นกาสะลอง ใบไม้ที่ปลิดปลิว เมียน้อย และสองนรี ที่มีเนื้อหาสะท้อนถึงอำนาจชายเป็นใหญ่ ด้านความรุนแรงทางตรง ผ่านการทำร้ายร่างกาย ตบ ตี ต่อย กักขัง ด่าทอ ข่มขืน  และฆ่าให้เสียชีวิต  และมีละครจำนวน  4 เรื่องคือ เกลิ่นกาสะลอง ใบไม้ที่ปลิดปลิว เมียน้อย และสองนรีที่มีเนื้อหาสะท้อนถึงอำนาจชายเป็นใหญ่ ด้านความรุนแรงเชิงโครงสร้างในประเด็นการนอกใจ ในฐานะสามีกับภรรยาในสถาบันครอบครัว ด้วยการมีภรรยาน้อย และการคบชู้ เป็นการสร้างบาดแผลในใจให้ผู้หญิง ทำร้ายจิตใจ สร้างความเจ็บปวดภายในจิตใจ ด้วยการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นคนรัก


          นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่ามีละคร 2 เรื่องคือ เมียน้อย และสองนรี ที่มีเนื้อหาสะท้อนถึงอำนาจชายเป็นใหญ่ ด้านความรุนแรงเชิงโครงสร้างในประเด็นการทำให้ผู้หญิงกลายเป็นวัตถุทางเพศ โดยในละครเรื่องเมียน้อยมีเนื้อหาที่สะท้อนถึงการทำให้ผู้หญิงกลายเป็นวัตถุทางเพศ ด้วยการใช้เงินซื้อร่างกายของผู้หญิง ในสถานะผู้ซื้อบริการกับผู้ขายบริการ ส่วนในละครเรื่องสองนรีมีเนื้อหาที่สะท้อนถึงการทำให้ผู้หญิงกลายเป็นวัตถุทางเพศ ด้วยการหลอกลวงผู้หญิงไปขายบริการทางเพศ ในสถานะนายจ้างกับลูกจ้าง แสดงให้เห็นถึงการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเป็นพ่อที่มีความสัมพันธ์กับลูกเลี้ยงโดยพ่อทำให้ร่างกายของลูกสาวเป็นเพียงวัตถุทางเพศ


            ซึ่งเนื้อหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในละครโทรทัศน์เหล่านี้สื่อให้เห็นว่า ละครโทรทัศน์ได้ผลิตซ้ำอำนาจชายเป็นใหญ่ โดยมีเชื่อว่าละครที่มีเนื้อหาการทำร้ายร่างกายและจิตใจผู้หญิงจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ละครมีเนื้อหาน่าติดตาม แต่ความจริงแล้วเป็นการสืบทอดอุดมการณ์ปิตาธิปไตย (Patriarchy) ให้กับสังคมไทย  ในทางตรงกันข้าม ละครซีรีส์เกาหลีกลับนำเสนอเนื้อหาที่ท้าทายอุดมการณ์ปิตาธิปไตย (Patriarchy) ด้วยการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นชายรูปแบบใหม่ที่มีความอบอุ่น อ่อนโยน ดูแลเอาใจใส่ และมีความเข้าใจในผู้หญิง เป็นการสร้างละครเพื่อปรับพฤติกรรม สร้างจิตสำนึกชี้นำสังคมในค่านิยมใหม่ เพื่อจูงใจให้เกิดพฤติกรรมใหม่ๆ เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านสื่อมวลชน


Abstract


          The research article “the patriarchy : the violence in TV drama series” is a qualitative research method to analyze the contents of the patriarchical manner and the violence in four TV drama series: Klinkasalong, Baimaiteepidpew, Mianoi  and Songnari.


          The study has found that there are four drama series: Klinkasalong, Baimaiteepidpew, Mianoi and Songnari which are created by the patriarchical manner with direct violence such as slapping, hitting, punching, imprisonment, insulting,  rape and killing


          There are four drama series: Klinkasalong, Baimaiteepidpew, Mianoi and Songnari which are created by the patriarchical manner with structural violence from infidelity in the family. The infidelity makes wounds on women and destroy the dignity of love.


           There are two drama series: Mianoi and Songnari which are created the patriarchical manner with structural violence by making women as sexual object. In Mianoi, the man uses money to buy women's bodies. In Songnari drama, the man betrays women and forces them to be prostitutions. As a result, these acts destroy the human dignity. Moreover, In Songnari drama, the father make his daughter  as sexual object.


          The study shows that the violence of TV drama series has reproduced the patriarchy. TV drama series producer believes that the violence of TV drama series is an attraction for audiences. But in fact, the violence of TV drama series is the inheritance of the patriarchal ideology in Thai society.  On the other hand, the Korean drama series producer challenge the patriarchy by producing the feminization of masculinity such as warmth, gentleness, tendance and understanding. The Korean drama series producer makes the drama series for creating awareness to guide society in new values, motivating new behaviors and making process of learning through mass media.

Published
Dec 15, 2022
How to Cite
TIEMLOM, Visakha. อำนาจชายเป็นใหญ่: ความรุนแรงในละครหลังข่าว (The patriarchy: The violence in TV drama series). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 5, n. 3, p. 1-48, dec. 2022. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/311>. Date accessed: 21 nov. 2024.