การบริหารงานด้านการตรวจสอบอากร (Post - Clearance Audit Management)

กรณีศึกษาการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยของส่วนปฏิบัติการตรวจสอบ 1 กองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร (A Case Study of Post - Clearance Audit, Audit Operation Section I, Post - Clearance Audit Division of the Customs Department)

  • Napatsapan Klangprapan Student, Master of Public Administration Program, R.U.
  • Ratthasirin Wangkanond Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคและพัฒนาการดำเนินงานในการบริหารงานด้านการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยของส่วนปฏิบัติการตรวจสอบ 1 กองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการบริหารงานด้านการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ภายใต้กรอบแนวคิดการนำนโยบายไปปฏิบัติของ Van Meter and Van Horn นั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในด้านวัตุประสงค์มีความชัดเจน ทรัพยากรมีเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ด้านลักษณะของหน่วยงานนั้นมีความเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรโดยรวมเป็นไปด้วยดี แม้จะมีอุปสรรคบ้างในการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ สภาพเศรษฐกิจและสังคมนั้นมีผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมาก และความร่วมมือร่วมใจของบุคคลากรนั้นมีความร่วมมือร่วมใจกันเป็นอย่างดี ส่วนปัญหาและอุปสรรคนั้น ประกอบไปด้วย 1) ปัญหาด้านทรัพยากรบุคคลที่มีการโยกย้ายบ่อยและขาดทักษะประสบการณ์ 2) ปัญหาด้านระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจสอบยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 3) ปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ 4) ปัญหาด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้น 5) ปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


Abstract


This research aims to study the process of problems and obstacles, as well as suggestions on solutions to problems, obstacles and development of operations in the administration of post-examination inspections of the Audit Operations Division 1, the Duty Audit Division, the Customs Department.  It is a qualitative research method, collecting data from interviews 10 key informants. Post-release inspection management process under the concept of policy implementation of Van Meter and Van Horn are efficient. The objectives are clear. Resources are sufficient to operate. The nature of the unit is conducive to operations. The overall communication within the organization was good. Although, there are some obstacles in communication between executives and practitioner. The socio-economic condition greatly affects the performance of work. And the cooperation of the personnel is very good cooperation. As for the problems and obstacles, they consisted of 1) problems with human resources with frequent transfers and lack of experience, 2) problems with technology systems used in the audit that were not as effective as they should be, 3) problems with communication between executives. 4) Problems related to laws and regulations are unclear and do not cover the problems that arise. 5) Knowledge and understanding problems of operators regarding post-release inspection and related laws.

Published
Aug 10, 2022
How to Cite
KLANGPRAPAN, Napatsapan; WANGKANOND, Ratthasirin. การบริหารงานด้านการตรวจสอบอากร (Post - Clearance Audit Management). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 433-460, aug. 2022. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/315>. Date accessed: 25 nov. 2024.