บทบาทของกองทัพกับนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่ (Thai army and cybersecurity policy for non-traditional threats)
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ของประเทศไทย 2. ความพร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ 3. แนวคิดและข้อเสนอแนะในการพัฒนาและปรับปรุงนโยบาย มาตรการทางกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติ ในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ปัญหาใหญ่ ได้แก่ 1) ความไม่พร้อมในการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์ และความไม่พร้อมในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับประเทศ และ 2) ความไม่พร้อมในการรับมือปรากฏการณ์อำนาจแฝงจากโซเชียลมีเดีย และการสูญเสียอธิปไตยไซเบอร์ของชาติ ในส่วนของความพร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จากผลการวิเคราะห์ขีดความสามารถด้านไซเบอร์ พบว่า ประเทศไทยมีขีดความสามารถด้านไซเบอร์โดยรวม อยู่ที่ระดับ 1.95 หมายความว่า ไทยจำเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถด้านไซเบอร์ในทุกมิติ
Abstract
This research is a qualitative research. Data were collected from related documents and from the interviews with 10 key informants. The purposes of studying were to study 1. cyber threats in Thailand 2. cybersecurity readiness and 3. concepts and recommendations for policy development and improvement, legal measures and regulations to protect against cyber threats. The results showed that the problem of cyber threats in Thailand is divided into 2 major problems, namely; 1) not being ready to prevent and secure cyber threats and maintain cybersecurity at the national level and 2) not being ready for cyber threats, coping with the hidden power phenomenon from social media and the loss of national cyber sovereignty. In terms of readiness for cyber security, according to the results of cyber capability analysis, Thailand's overall cyber capability is at 1.95, meaning that Thailand needs to develop its cyber capabilities in all dimensions.