นโยบายการพิจารณาคัดเลือกบุคคลพลเรือนเข้ารับราชการในกองทัพบกด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์และรอยเท้าทางดิจิทัล (The policy of recruitment system regarding to the social media utilization and digital footprint)

  • Narawit Chitbanchong Student, Master of Public Administration Program
  • Vongphak Poopunsri Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


            การศึกษาวิจัยเรื่อง นโยบายการพิจารณาคัดเลือกบุคคลพลเรือนเข้ารับราชการในกองทัพบกด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์และรอยเท้าทางดิจิทัลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. นโยบายการพิจารณาและคัดเลือกบุคคลพลเรือนเข้ารับราชการในกองทัพบกด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการตรวจสอบรอยเท้าทางดิจิทัล 2. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบาย 3. เพื่อเสนอมาตรการ ระบบการคัดเลือก และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า นโยบายการพิจารณาและคัดเลือกบุคคลพลเรือนเข้ารับราชการในกองทัพบกด้วยการใช้โซเชียลมีเดียและการตรวจสอบรอยเท้าทางดิจิทัล เป็นนโยบายที่สำคัญและมีความจำเป็นในยุคปัจจุบัน ซึ่งกองทัพบกกำหนดขึ้นมาใหม่ให้ทันต่อสถานการณ์ มีการตรวจสอบทัศนคติผ่านการใช้โซเชียลมีเดียของผู้เข้ารับการคัดเลือกมาใช้ในการพิจารณา เป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน ที่ไม่แตกต่างจากองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนอื่นๆ นโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบทั้งผู้รับการคัดเลือก กองทัพบก และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัตินั้นควรมีมาตรฐานหรือแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน มีการเตรียมความพร้อมทั้งในระดับนโยบาย กำลังพลผู้ปฏิบัติ เครื่องมือ และกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นนโยบายที่มีความยุติธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นโยบายดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA: Personal Data Protection Act) ที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน


 


Abstract


           This research is a qualitative research method. Data were collected by interviewing 11 key informants. The objectives of this research are to study 1. policy on considering and selecting civilian personnel to serve in the Royal Thai Army by using social media and digital footprint verification; 2. analyze the impact of the policy and 3. propose measures as a selection system and appropriate guidelines. The results of the research revealed that this policy is an important and necessary in today's era in which the Army has set up to keep up with the situation. Attitudes were examined through the use of social media of the selected participants for consideration. The policy has both positive and negative impacts on recruiters, the Army and related agencies, both directly and indirectly. However, it was also found that the implementation of the policy has clear standards or guidelines. There were well prepare at the policy level, operator personnel, tools and related regulations to be a fair, transparent and verifiable policy especially where such policies are relevant to. The Personal Data Protection Act B.E. 2562 (PDPA: Personal Data Protection Act) that is currently in effect.

Published
Aug 10, 2022
How to Cite
CHITBANCHONG, Narawit; POOPUNSRI, Vongphak. นโยบายการพิจารณาคัดเลือกบุคคลพลเรือนเข้ารับราชการในกองทัพบกด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์และรอยเท้าทางดิจิทัล (The policy of recruitment system regarding to the social media utilization and digital footprint). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 5, n. 2, p. 482-501, aug. 2022. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/317>. Date accessed: 26 apr. 2024.