การดำรงอยู่ของชนชั้นนำทางการเมืองไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการทหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2562 (Power maintenance of Thai political elites from 1979-2019)
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการดำรงอยู่ของชนชั้นนำทางการเมืองไทยภายใต้โครงสร้างระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการทหาร ระหว่างปี พ.ศ. 2522-2562 และ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบว่าระบอบใดเอื้อต่อการดำรงอยู่ของชนชั้นนำทางการเมืองไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงลึกจากข้อเท็จจริงของข้อมูลจากเอกสาร จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี (theory of triangulation)
จากการศึกษาพบว่าเราสามารถเห็นถึงบทบาททางการเมืองของชนชั้นนำทางการเมืองไทยทั้ง 4 กลุ่ม (ข้าราชการประจำและทหาร ขุนนางนักวิชาการ นักการเมือง และนายทุน) ได้ในทุกรัฐบาล โดยบทบาททางการเมืองของแต่ละกลุ่มจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระบอบการปกครองในขณะนั้น รวมทั้งข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจสูงแก่ฝ่ายใดเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ยังพบว่า ระบอบการเมืองที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของชนชั้นนำทางการเมืองไทยทั้ง 4 กลุ่มไม่ได้จำกัดเพียงแค่ระบอบเดียวเท่านั้น แต่กลุ่มชนชั้นชนนำทางการเมืองสามารถพัฒนาและปรับตัวเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ทั้ง 2 ระบอบ
Abstract
In this research, the researcher aim 1) to study power maintenance of Thai political elites under democratic and authoritarian-military regime from 1979-2019 and 2) to examine which regime is conducive to maintain their powers. This research employed a qualitative research method, the data was collected from academic documents and then analyzed by using a theory of triangulation.
Findings are as follows; the role of political elites (bureaucrats and military, aristocrats and scholars, politicians and capitalists) can be seen in all governments even if the regime was changed but their political role remains. However, their roles of power are different depending on the current regime and the constitutional provisions. Moreover, even though the regimes were changed, all groups of the political elites still have political roles that can be explained by their ability to adapt to both regimes.