กลไกความร่วมมือไทย-จีนเชิงนโยบายเกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่ภายใต้บริบท BRI (Mechanisms of policy cooperation relating to the new overseas Chinese in Thailand under BRI context)

  • Sirilak Tantayakul Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


          งานวิจัยเรื่องกลไกความร่วมมือไทย-จีนเชิงนโยบายเกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่ภายใต้บริบท BRI มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากลไกความร่วมมือเชิงเครือข่ายของชาวจีนโพ้นทะเล/ชาวจีนรุ่นใหม่ในประเทศไทยภายใต้บริบทข้อริเริ่มแถบเศรษฐกิจและเส้นทางสายไหมใหม่ (Belt and Road Initiative: BRI)  (2)  ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาคมชาวจีนรุ่นใหม่และภาครัฐของไทย (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากลไกความร่วมมือในสร้าง “ประชาเชื่อมใจ” ภายใต้บริบท BRI     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (documentary research) และการวิจัยภาคสนาม (field research) ในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) การวิจัยพบว่าชาวจีนรุ่นใหม่ที่เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยช่วงหลังประเทศจีนปฏิรูปเศรษฐกิจ และเปิดประเทศตั้งแต่ปีค.ศ. 1978 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีความสำคัญต่อการค้าการลงทุนภายใต้บริบท BRI  โดยชาวจีนรุ่นใหม่ที่แปลงสัญชาติเป็นไทยสามารถเป็นผู้นำในองค์กรสมาคมของชาวจีนที่มีความร่วมมือในเชิงเครือข่าย ผลการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาคมของชาวจีนรุ่นใหม่กับภาครัฐของไทยใน 4 มิติมีการปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน สมาคมของชาวจีนรุ่นใหม่มีปฏิสัมพันธ์สูงมากในด้านเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน มีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ในการสถาปนาเมืองมิตรภาพระหว่างไทย-จีน  มีปฏิสัมพันธ์ในระดับปานกลางในด้านการศึกษาและวัฒนธรรม  และไม่มีปฏิสัมพันธ์ในประเด็นด้านความมั่นคง   ในฐานะหน่วยงานคลังสมอง   ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน (วช.) ควรสนับสนุนทุนการวิจัยและสร้างความร่วมมือเชิงนโยบายกับเครือข่ายสมาคมชาวจีนรุ่นใหม่ที่มีบทบาทสำคัญภายใต้บริบท BRI  โดยเฉพาะการเชื่อมโยงของภาคประชาชน


Abstract


            In this research entitle “Mechanisms of policy cooperation relating to the new overseas Chinese in Thailand under BRI context,” the objectives were to study (1) the mechanism of network building of the new overseas Chinese in Thailand under the context of Belt and Road Initiative (BRI) (2) the interaction between the new overseas Chinese Association and the Thai government sectors (3) the mechanism development for promoting people-to-people exchanges and networking opportunities. This research was qualitative research consisting of documentary research, field research and participatory action research. The research found that since 1978 the numbers of new overseas Chinese migrating to Thailand has increased enormously. The new overseas Chinese in Thailand has an important role for trade and investment under the BRI context. The new overseas Chinese changing their nationality to be Thai are able to establish the new Chinese associations with network cooperation. The results of the study of interactions between the new Chinese associations and Thai governmental sectors in 4 dimensions showed different interactions. A number of business associations of the new overseas Chinese have a very high interaction in trade and investment. There has been a symbolic interaction in the establishment of friendship/twin cities between Thailand and China. The new Chinese associations Interact moderately in education and culture, but have no interaction on security issues. As a think tank, the Thai-Chinese Strategic Research Center (NRCT) should grant research fund and establish policy cooperation with a network of the new overseas Chinese associations playing important roles in the BRI context, especially the people-to-people diplomacy.

Published
Apr 12, 2023
How to Cite
TANTAYAKUL, Sirilak. กลไกความร่วมมือไทย-จีนเชิงนโยบายเกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่ภายใต้บริบท BRI (Mechanisms of policy cooperation relating to the new overseas Chinese in Thailand under BRI context). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 88-108, apr. 2023. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/329>. Date accessed: 29 mar. 2024.