การนำแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ไปปฏิบัติ ในงานพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 (Implementation of new public service concepts at the Film and Video Act B.E. 2551)

กรณีศึกษาสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา (A case study of Chachoengsao Provincial Cultural Office)

  • Phongsak Prasertsang Student, Master of Public Administration Program
  • Sirilak Tantayakul Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการและช่องทางการให้บริการสาธารณะปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานและการให้บริการประชาชน และศึกษาแนวทางในการพัฒนาการให้บริการสาธารณะแนวใหม่ ในงานพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 1 คน และวิธีวิจัยเอกสารจากกฎหมาย และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ สามารถนำไปปฏิบัติในงานพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทราได้ เนื่องจาก สิ่งที่ได้ดำเนินการ ณ ปัจจุบันนี้ การบริการสาธารณะแนวใหม่ อันได้แก่ การเปิดช่องทางให้ประชาชนหรือผู้ประกอบกิจการฯ เข้ามามีส่วนร่วมต่อการบริหารสาธารณะในงานดังกล่าว ผ่านทางโทรศัพท์หรือไลน์ผู้ประกอบกิจการฯ การจัดประชุมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ประกอบกิจการฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การเปิดช่องทางการขอใบอนุญาตประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ผ่านระบบ E-service ตลอดจนการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ทั้งเรื่องการให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย การไม่รับสำเนาเอกสารที่รัฐออกให้ แต่ยังมีปัญหาและอุปสรรคที่ภาครัฐจะต้องแก้ไข ในเรื่องของกระบวนงานดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างภาครัฐกับประชาชน เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับการบริการสาธารณะภาครัฐมากยิ่งขึ้นต่อไป


Abstract


          The purpose of this research is to study the pattern methods and channels of public service, problems and obstacles in operations and public services and to study guidelines for the development of new public services at the Film and Video Act 2008 of the Chachoengsao Provincial Cultural Office. This research is a qualitative research. Data collected by interviewing a person related to the Film and Video Act 2008 of the Chachoengsao Provincial Cultural Office and documents from the law.  The research found that the new public service can be implemented in the Film and Video Act 2008 of the Chachoengsao Provincial Cultural Office.  Because what has been done at present, the office  is opening a channel for the public or the operator to participate in public administration in such work via phone or Line application. Arrangement of meetings to create knowledge and understanding between government officials and business operators are organized at least once a year. Opening channels for obtaining business licenses according to the Film and Video Act B.E. 2551 through the E-service system, as well as facilitating the public with legal knowledge. But there are still problems and obstacles that the government must solve in terms of procedures as mentioned above to build confidence with the public, build trust between government and people. Furthermore, this would increase the opportunity for people to participate in the public service.  

Published
Apr 12, 2023
How to Cite
PRASERTSANG, Phongsak; TANTAYAKUL, Sirilak. การนำแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ไปปฏิบัติ ในงานพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 (Implementation of new public service concepts at the Film and Video Act B.E. 2551). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 267-286, apr. 2023. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/335>. Date accessed: 05 july 2024.