ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Factors affecting to human resource development efficiency )

กรณีศึกษา สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ( A case study of Culture Sports and Tourism Department, Bangkok Metropolitan Administration)

  • Ranika Ruksamuang Student, Master of Public Administration Program
  • Nattapong Boonlue Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคล  (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณกับบุคลากร จำนวน 109 กลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่ง และอายุการทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  (2) ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.95, S.D. = 0.52) มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงานมีผลความสัมพันธ์สูงที่สุด อยู่ในระดับสูงมาก (r = 0.875) รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบ (r = 0.783) ปัจจัยด้านลักษณะของงาน (r = 0.720) และปัจจัยด้านการได้รับการยอมรับนับถือ (r = 0.682) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านความสำเร็จของงานมีความสัมพันธ์น้อยที่สุด (r = 0.639) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ   ที่ระดับ 0.01 (3) ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานส่งผลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคลร้อยละ 70.8 (Adjusted R2 = 0.708) เมื่อปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น 1 หน่วย  ประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคลจะเพิ่มขึ้น 1.021 หน่วย (b = 1.021, Beta = 0.841) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  


Abstract


          The objectives of this research were (1) to study the relationship between personal factors and performance. human resource development (2) to study the relationship between performance motivation factors and efficiency human resource development. A quantitative research method was used with 109 samples. The results showed that (1) personal factors in gender, age, education level position type and working age had no correlation with HR development efficiency, with statistical significance at the 0.05 level. (2) the overall performance motivation factor was at a high level (x ̅ = 3.95, S.D. = 0.52). in the same direction as human resource development efficiency by the factor of advancement in the job position have the highest correlation effect was at a very high level (r = 0.875), followed by responsibility factor (r = 0.783), job characteristics factor  (r = 0.720) and respect factor (r = 0.682), respectively. 0.639), with statistical significance at the level of 0.01 (3) performance motivation factors affecting the efficiency of human resource development by 70.8 percent (Adjusted R2 = 0.708). Up 1 unit, human resource development efficiency will increase by 1.021 units (b = 1.021, Beta = 0.841) with a statistical significance at the 0.05 .

Published
Apr 5, 2023
How to Cite
RUKSAMUANG, Ranika; BOONLUE, Nattapong. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Factors affecting to human resource development efficiency ). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 319-341, apr. 2023. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/338>. Date accessed: 28 mar. 2024.