ภูมิทัศน์ทางการเมืองของนักศึกษาในช่วง พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2564 ว่าด้วยการก่อตัว อุดมการณ์ประชาธิปไตย และวาทกรรมทางการเมือง ( Political landscape of students from B.E. 2557-2564 on political formation, democratic ideology and political discourse)

  • Wittawat Kraisawat Student, Ph.D program, Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


                งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวที่ข้องในช่วงการชุมนุมทางการเมืองของนักศึกษา พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2564   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1). เพื่อศึกษาภูมิทัศน์ทางการเมืองของนักศึกษา 2). ปัจจัยทำให้เกิดการก่อตัวให้นักศึกษาออกมาแสดงความคิด ความเห็นทางการเมือง และ 3). อุดมการณ์ประชาธิปไตย และวาทกรรมทางการเมืองของนักศึกษาในช่วง พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2564 ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ทางการเมืองดังกล่าวมีลักษณะใช้อำนาจในการควบคุมพื้นที่สาธารณะในแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มนักศึกษา และการทำกิจกรรมทางการเมืองของนักศึกษา จะถูกควบคุมโดยการดำเนินคดีกับกลุ่มนักศึกษา โดยมี 4 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการก่อตัวให้นักศึกษาออกมาแสดงออกทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2564 ได้แก่ ปัจจัยความขัดแย้งทางการเมือง ปัจจัยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ปัจจัยทางอิทธิพลทางความคิดของนักวิชาการและสถาบันการศึกษา และปัจจัยรากฐานความรู้ด้านประชาธิปไตย ส่วนเรื่องอุดมการณ์ประชาธิปไตยของนักศึกษาในช่วงนี้พบว่า นักศึกษาที่ออกมาแสดงออกทางเมืองต้องการที่จะเห็นการเมืองเป็นประชาธิปไตย ประกอบด้วยหลักสิทธิ หลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาพ หลักความเท่าเทียม และหลักภราดรภาพ ในส่วนวาทกรรมทางการเมืองของนักศึกษาในช่วง นี้พบว่า นักศึกษาที่ออกมาแสดงออกทางการเมืองได้ผลิตวาทกรรมทางการเมืองขึ้นเพื่อปลุกระดมทางความคิด การรวมกลุ่ม และสร้างแรงจูงในทางปฏิบัติ เช่น “ให้มันจบที่รุ่นเรา” หรือ “เพื่อหยุดระบบเผด็จการที่เกิดขึ้นบนฉากการเมืองไทย”


Abstract


This research is a qualitative one, collecting data form related documents0 It aimed to study 1). political landscape of students, 2). factors formulated those student to express their political opinions and 3). their democratic ideology and political discourse. It is found that such political situation is characterized by the use of power to control public space when student groups show political expression and when student groups have political activities, for example, public gathering, showing of political opinion through social media channel. This showing of different political opinion of students is controlled by prosecution against student groups. The factors that cause the formation of students to express political opinion, are political conflict factors, technology advancement factors, factors of idea influence of scholars and education institutes and factors on democratic knowledge foundation. Moreover, it is found that students who express political opinion want to see democratic politics, consisting of principles of right, liberty, equality, equal right and fraternity. Concerning political discourse of those students, their political expressions produce political discourse to incite idea, collective action and create practical motivation, for example, “Let it ends in our generation”.

Published
Aug 18, 2023
How to Cite
KRAISAWAT, Wittawat. ภูมิทัศน์ทางการเมืองของนักศึกษาในช่วง พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2564 ว่าด้วยการก่อตัว อุดมการณ์ประชาธิปไตย และวาทกรรมทางการเมือง ( Political landscape of students from B.E. 2557-2564 on political formation, democratic ideology and political discourse). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 243-270, aug. 2023. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/348>. Date accessed: 13 nov. 2024.