การกำหนดนโยบายในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในสังคมไทยกับการประยุกต์ใช้ตัวแบบการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (Policy formulation during the Covid-19 epedemic in Thai society and the application of a Rational Selection Model)
Abstract
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง การกำหนดนโยบายในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในสังคมไทยกับการประยุกต์ใช้ตัวแบบการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทในการกำหนดนโยบายในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษารูปแบบและขั้นตอนการกำหนดนโยบายในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในสังคมไทย ผลการวิจัย พบว่า บริบทด้านสาธารณสุข ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ในสังคมไทย ระลอกแรก และ ระลอกที่สอง มีระลอกที่สาม ระลอกที่ห้า และระลอกที่หก มีความไม่แน่นอนทางด้านสาธารณสุขน้อยกว่าระลอกที่สี่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางด้านสาธารณสุขสูงที่สุด ในส่วนของบริบทด้านเศรษฐกิจ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ในสังคมไทย ระลอกแรก ระลอกที่สอง ระลอกที่สี่ ระลอกที่ห้า และ ระลอกที่หก มีความทางไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจน้อยกว่า ระลอกที่สาม ซึ่งเป็นช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจสูงที่สุด สำหรับบริบทด้านการเมือง ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ในสังคมไทย ระลอกที่หนึ่ง ระลอกที่สอง ระลอกที่สาม และระลอกที่หก มีความไม่แน่นอนทางการเมืองน้อยกว่าระลอกที่สี่ และระลอกที่ห้า ซี่งเป็นช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางการเมืองสูงสุด
รูปแบบการกำหนดนโยบายทางด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และการเมือง ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ในสังคมไทยเป็นการรวมศูนย์อำนาจ และได้ยุติการรวมศูนย์อำนาจในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ในสังคมไทย ระลอกที่หก ทั้งนี้ ในส่วนของขั้นตอนการกำหนดนโยบายในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19ในสังคมไทย มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และคำแนะนำทางเทคนิค 2) การตัดสินใจ และ 3) การสื่อสาร
Abstract
The objectives of this paper on policy making during the COVID-19 epidemic in Thai society and the application of a rational selection model. are as follows: 1) to study the context of policy formulation during the COVID-19 epidemic in Thai society 2) to study the form and process of policy formulation during the COVID-19 epidemic in Thai society. The research results found that public health context during the epidemic of COVID-19 in Thai society, the first wave and the second wave, there are the third wave, the fifth wave and the sixth wave. There is less public health uncertainty than the fourth wave. This is a time of greatest public health uncertainty. In terms of the economic context during the first wave of COVID-19 in Thai society, the first wave, the second wave, the fourth wave, the fifth wave, and the sixth wave, there was less economic uncertainty than the third wave. For the political context during the epidemic of COVID-19 in Thai society, the first wave, the second wave, the third wave, and the sixth wave. There is less political uncertainty than the fourth wave. and the fifth wave which was a time of the highest political uncertainty.
Policy formulation in public health, economy and politics during the epidemic of COVID-19 in Thai society is a centralized power (centralization) and ended the centralization of power during the sixth wave of the COVID-19 epidemic in Thai society. As for the process of policy formulation during the COVID-19 epidemic in Thai society, there are 3 steps: 1) setting scientific criteria and technical advice 2) making decisions and 3) communication.