การบริหารจัดการการให้บริการด้านกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานแก่ประชาชน (The management of safety law service to the public)

กรณีศึกษาเฉพาะสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 (A case study of Bangkok Labour Protection and Welfare Office Area 3)

  • Pornpan Morsaman Student, Master of Public Administration Program, R.U.
  • Nattapong Boonlue Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและคุณภาพในการบริหารจัดการการให้บริการด้านกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานแก่ประชาชน กรณีศึกษาเฉพาะสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 จำนวน 167 กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมถึงการใช้สถิติเชิงพรรณนา อันได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน อันได้แก่ F-Test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ปัจจัยการบริหารทั้ง 4 ด้าน อันได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลากร (คน) ปัจจัยด้านงบประมาณ (เงิน) ปัจจัยด้านทรัพยากร (วัสดุ/อุปกรณ์/สิ่งของ) และปัจจัยด้านการจัดการ ส่งผลต่อประสิทธิภาพและคุณภาพในการบริหารจัดการการให้บริการด้านกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานแก่ประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการวิจัยยังพบว่า ปัจจัยด้านการจัดการ ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการบริหารจัดการการให้บริการด้านกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานแก่ประชาชนทั้งในด้านประสิทธิภาพและด้านคุณภาพ


Abstract


            The research is a quantitative research. The purpose of this study was to study the administrative factors affecting the efficiency and quality of the management of the provision of occupational safety law services to the public. The samples were practitioners and service recipients at the Bangkok Labor Protection and Welfare Office Area 3, totaling 167 samples. It was obtained by simple sampling method. Questionnaire was employed a tool for collecting data, including the use of descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation. and inferential statistics, including F-Test and multiple regression analysis. In analyzing and presenting the research results, it was found that the four management factors were personnel factors (people), budget factors (money), resources factors(material/equipment/things) and management factors affected the efficiency and quality of the management of legal services for occupational safety to the public with statistical significance at the 0.05 level. The management factor was the most influential factor in the management of the provision of legal services for occupational safety to the public in terms of efficiency and quality.

Published
Aug 8, 2023
How to Cite
MORSAMAN, Pornpan; BOONLUE, Nattapong. การบริหารจัดการการให้บริการด้านกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานแก่ประชาชน (The management of safety law service to the public). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 292-319, aug. 2023. ISSN 2630-0133. Available at: <http://ojs.ru.ac.th/index.php/MPA/article/view/368>. Date accessed: 23 dec. 2024.