ตัวแบบการวิเคราะห์: เครื่องมืออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง (Analytical models: Tools used to study political phenomena)
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความทางวิชาการที่เป็นผลจากการรวบรวม เรียบเรียงและวิเคราะห์แนวคิดที่สำคัญคือ ความเป็นศาสตร์ของรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นความพยายามของนักรัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์ที่ต้องการสร้างทฤษฎีทางการเมืองที่เทียบเคียงได้กับศาสตร์บริสุทธิ์ เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ ฯลฯ ด้วยหวังที่จะสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และทำนายเหตุการณ์ทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยมีความถูกต้องแม่นยำในระดับหนึ่งได้ จุดมุ่งหมายที่สำคัญของบทความคือต้องการทำความเข้าใจปรัชญาและข้อสมมติฐานเบื้องต้นที่อยู่เบื้องหลังทฤษฎีแม่บทที่ทรงอิทธิพลของนักรัฐศาสตร์ที่ได้นำมาใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมือง อันประกอบด้วยตัวแบบระบบ ตัวแบบหน้าที่และตัวแบบการสื่อสาร
Abstract
This is an academic article which derived from theories and important concepts concerning the science of political science. There are so many political scientists in the era of behavioral science who want to create a political theory that its accuracy is comparable to those of pure sciences such as chemistry, biology, etc., with the hope that it can be used as a tool for analyzing and predicting political phenomena that occur with a certain level of accuracy as possible. The main aim of the article is to understand the philosophy and basic assumptions behind the influential analytical models that political scientists have frequently used to study political phenomena, i.e. system model, functional model and cybernetics.